วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557

DNS ปัจจุบัน ใช้ให้ตรงกับค่ายเน็ตของตัวเองเช่าจะไม่อ้อมโลก



DNS 3BB : 110.164.252.222 , 110.164.252.223
DNS TOT : 203.113.127.199 , 203.113.24.199
DNS True : 203.144.255.71 , 203.144.255.72 , 203.144.207.29 , 203.144.207.49
DNS CAT : 61.19.245.245 , 61.19.245.246
DNS TT&T : 202.69.137.137 , 202.69.137.138

วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การเลือกซื้อเครื่องบันทึกภาพ DVR

การเลือกซื้อเครื่องบันทึกภาพ DVRนอกจากจะต้องเลือกกล้องที่มี ความคมชัดแล้ว สิ่งที่สำคัญและจะมองข้ามไปไม่ได้คือการเลือกซื้อ DVR หรือเครื่องบันทึกภาพ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบันทึกภาพที่ใช้คอมพิวเตอร์ทำ หรือเครื่องบันทึกภาพเฉพาะทางที่เรียกว่าDVR ซึ่งมาตรฐานในการบันทึกภาพจะเป็นมาตรฐานเดียวกันดังนี้
1. ขนาดของภาพที่บันทึกจะบอกเป็น
- D1  เท่ากับ  720x576 อัตราส่วน 1.25:1  414,720 Pixels- 4CIF (Frame) เท่ากับ  704x576 อัตราส่วน 1.22:1  405,504 Pixels ***บางยี่ห้อ อาจเรียกเป็น D1- 2CIF (Field)  เท่ากับ  704x288 อัตราส่วน 2.44:1  202,752 Pixels- DCIF  เท่ากับ  528x284 อัตราส่วน 1.86:1  149,952 Pixels- CIF  เท่ากับ  352x288 อัตราส่วน 1.22:1  101,376 Pixels- QCIF  เท่ากับ  176x144 อัตราส่วน 1.22:1  25,344 Pixels
ยิ่ง ขนาดของภาพที่บันทึกใหญ่ ภาพจะมีความคมชัดมาก และเวลาดูย้อนหลังภาพจะไม่แตก แต่จะใช้เนื้อที่ในการบันทึกมาก ทำให้เปลืองเนื้อที่บนฮาร์ดดิส
2. จำนวนภาพที่บันทึกต่อ 1 วินาที (fps) ตัวอย่างเช่น

Record resolution  -CIF  /  25 fps
   -2CIF / 12 fps
   -DCIF /  8 fps

หมายความว่าเครื่องบันทึกภาพตัวนี้สามารถบันทึกภาพที่มีขนาด CIF ได้ที่ 25 เฟรม/วินาที (Realtime)  และบันทึกภาพที่มีขนาด 2CIF ที่ 12 เฟรม/วินาที (Not Realtime) และสามาถบันทึกภาพที่มีขนาดใหญ่สุดที่ DCIF ที่ เฟรม/วินาที (Not Realtime)

*** 25 fps = 25 เฟรม ต่อ วินาที จะเป็นภาพเคลื่อนไหวเหมือนปกติ (Realtime)  
การเลือกซื้อเครื่องบันทึกภาพ (DVR) ควรเลือกเครื่องที่สามารถบันทึกได้ตามความต้องการ เช่น ต้องการความคมชัดมาก ควรเลือกเครื่องบันทึกภาพ (DVR) ที่สามารถบันทึกภาพขนาด D1, 4CIF, DCIF ได้แต่จะมีราคาค่อนข้างสูงและใช้เนื้อที่ฮาร์ดดิสมาก เครื่องบันทึกภาพ (DVR) ประเภทนี้ภาพที่บันทึกออกมาได้จะมีความคมชัดสูง เช่น ภาพขนาด D1 ภาพที่บันทึกออกมาจะได้เทียบเท่ากับ DVD
ข้อควรระวังในการซื้อเครื่องบันทึกภาพ (DVR) คือ เครื่องบันทึกภาพที่ขายส่วนใหญ่จะไม่ค่อยแจ้งรายละเอียดเหล่านี้ชัดเจนนัก ส่วนใหญ่จะเอารายละเอียดของการแสดงผลมาแสดงเป็นจุดขาย ซึ่งไม่ใช่ปัจจัยที่ทำให้ภาพมีความคมชัด
ตัวอย่างเช่น
- Display Resolution  25 fps : Camera(Realtime)
- Display Resolution  400 fps  (Realtime)
- Resolution  400 fps  (Realtime)
จากตัวอย่างที่แสดงเป็นการบอกว่าสามารถแสดงผลภาพได้ที่ 25 fps เฟรมต่อกล้อง ถ้ามีกล้อง 16 ตัว x 25 เท่ากับ 400 ซึ่ง ไม่เกี่ยวกับคุณภาพของภาพที่ถูกบันทึกแต่อย่างใด วิธีเลือกที่ดีที่สุดคือให้คนขายลองตั้งบันทึกที่คุณภาพสูงสุดแล้วเปิดดู ย้อนหลังแบบขยายภาพให้เต็มจอว่าภาพมีความคมชัดแค่ไหน และแสดงการคำนวณการใช้ฮาร์ดดิสก์ว่าสมควรจะใช้ฮาร์ดดิสก์ขนาดเท่าไหร่เพื่อ ให้สามารถบันทึกได้ยาวนานตามที่ต้องการ โดยอาจจะกำหนดจำนวนสมมุติที่ต้องการ เช่น ต้องการที่ 30 วันต้องใช้ฮาร์ดดิสก์ขนาดเท่าไหร่่
ข้อมูลจาก ส.มงคล www.suchinko.com

วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2557

Bandwidth (แบนด์วิธ) กับระบบ IP Camera คืออะไร ?

Bandwidth (แบนด์วิธ) กับระบบ IP Camera คืออะไร ?

Bandwidth(แบนด์วิธ) คือ การวัดความเร็วในการส่งข้อมูลของอินเทอร์เน็ต ซึ่งโดยมากเรามักวัด ความเร็วของการส่งข้อมูลเป็น bps (bit per second) , Mbp (bps*1000000) เช่น Bandwidth ของการใช้สายโทรศัพท์ในประเทศไทย เท่ากับ 14.4 Kbps, Bandwidth ของ สายส่งข้อมูลของ KSC ที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับอเมริกาเท่ากับ 2 Mbps เป็นต้น
ความหมาย Bandwidth คือ ความกว้างของคลื่นความถี่ หรือความกว้างของช่องทางในการ รับ-ส่ง ข้อมูล ส่วน Latency คือ เวลาที่ใช้ไปในการเข้าถึงข้อมูลของหน่วยความจำ เมื่อเรารู้ความหมายกันแล้ว คราวนี้เรามารู้จักถึงหลักการต่างๆ ของ Bandwidth และ Latency ในการพิจารณาการ รับ-ส่ง ข้อมูล บนระบบบัสหลายคนมักจะนึกถึง Bus Bandwidth (Bandwidth ก็คือความกว้างของเส้นทาง ในการส่งข้อมูล ที่เราสามารถเปรียบเทียบได้กับเลนบนถนน ยิ่งมีเลนกว้างเท่าไร รถยนต์ซึ่งเปรียบได้กับ ข้อมูลก็สามารถวิ่งได้สะดวกมาก ขึ้นเท่านั้น) ที่ใช้ในการรับ-ส่งข้อมูล ซึ่งพิจารณาจากข้อมูลที่ รับ-ส่ง บนระบบบัส Bus Bandwidth ด้วยปริมาณจำนวนข้อมูลของเลข Single number (0 หรือ 1) ที่ระบบบัสสามารถรองรับได้ แต่ปริมาณขอมูลของเลข Single number อาจแปรผันได้ตามเวลา เราจึง พิจารณากา รรับ-ส่ง ข้อมูลผ่านทาง Bus Bandwidth ด้วย Peak Bandwidth Bus หรือ ความกว้าง สูงสุดในการ รับ-ส่ งข้อมูลของบัส ซึ่งวัดด้วยจำนวนข้อมูลสูงสุดที่ รับ-ส่งกันระหว่าง CPU และ RAM ภายในหนึ่งคาบเวลา จากความเร็วสัญญาณนาฬิการะหว่างหน่วยความจำและ CPU ถ้าเรามาคำนวณหา Bandwidth ของบัสที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิการะหว่างหน่วยความจำและ CPU ที่สัญญาณนาฬิกา 100 เมกะเฮิรตซ์ โดยที่มีการ รับ-ส่ง ข้อมูลจำนวน 8 ไบต์ในแต่ละหนึ่งรอบของสัญญาณนาฬิกา จะคำนวณ ออกมาได้ดังนี้ 8 bytes * 100 MHz = 800 MB/s และถ้าหากเราคำนวณหา Bandwidth ของบัสที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิการะหว่างหน่วยความจำและCPU ที่ 133 เมกะเฮิรตซ์ โดยที่มีการรับ-ส่งข้อมูลจำนวน 8 ไบต์ในแต่ละหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา จะคำนวณ ออกมาได้ดังนี้ 8 bytes * 133 MHz = 1064 MB/s ซึ่งตัวเลข Bandwidth ที่ได้นี้เป็นพียงตัวเลขทางทฤษฎีที่บอกถึงปริมาณของข้อมูล ที่เข้าสู่ CPU ในแต่ละ วินาที ในความเป็นจริง Bandwidth ของระบบจริงอาจมีค่าน้อยกว่าที่คำนวณเพียงเล็กน้อย
พูดง่ายๆ Bandwidth ก็เหมือนช่องทางบนถนน หากมีช่องทางบนถนน 8 เลน ก็คือมี Bandwidth 8 เลนนั้นเอง
ในปัจจุบันกล้องวงจรปิด CCTV แบบ IP Camera นั้น ก็เป็นที่สนใจจากผู้คนที่ต้องการความ ปลอดภัยและเฝ้าระวังทรัพย์สินของตนเอง ซึ่งข้อดีของกล้องวงจรปิด CCTV ปิดแบบ IP Camera นั้นมี อยู่หลายข้อเลยทีเดียว ยกตัวอย่างเช่น มันสามารถติดต่อผ่านระบบเน็ตเวิร์ค โดยใช้แพ็กเก็ตแบบ IP ได้ ทำให้สามารถดูผ่านเว็บไซต์ได้ทุกมุมโลก หรือ มีความสามารถในการติดต่อกับ Internet ผ่านทาง PPP Connection ได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องง้อ ADSL Router
เพราะฉะนั้นในการเลือกใช้ Switch จึงต้องเลือกแบบที่สามารถรองรับ Bandwidth ของข้อมูล ทั้งหมดได้เพียงพอ ตัวอย่างเช่น ระบบกล้องวงจรปิด CCTV แบบ IP Camera นั้น กล้องวงจรปิด CCTV ประเภทนี้ 1 ตัวนั้น จะมีการส่งข้อมูลภาพอยู่ที่ 32kbps – 3Mbs ซึ่งแล้วแต่คุณภาพของกล้องตัวนั้น ว่าจะมีความละเอียดมากแค่ไหน โดยทั่วไปแล้วการบีบอัดข้อมูล (Compression) แบบ Mpeg4, H.264, H.263 จะต้องใช้ Bandwidth ประมาณ 2Mbps เพราะฉะนั้น ถ้าหากในองค์กร เราใช้กล้องทั้งหมด 10 ตัว จะต้องใช้ Bandwidth อยู่ที่ 20 Mbps เป็นอย่างน้อยตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้เรายังจะต้องเผื่อ Bandwidth สำหรับระบบอื่นๆด้วย 20% ของระบบกล้องวงจรปิด CCTV IP Camera

สัญญาณ อนาล็อก กับ ดิจิตอล คืออะไร และต่างกันอย่างไร

สัญญาณ อนาล็อก กับ ดิจิตอล คืออะไร และต่างกันอย่างไร

สัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) หมายถึง สัญญาณที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือการเคลื่อนที่ของ ข้อมูลแบบต่อเนื่อง (Continuouse Data) โดยสัญญาณจะมีขนาดไม่คงที่ มีการเปลี่ยนแปลงขนาดของ สัญญาณแบบค่อยเป็นค่อยไป และจะมีลักษณะเป็นเส้นโค้งต่อเนื่องกันไป ยกตัวอย่างเช่น การที่เราโยน ก้อนหินลงน้ำ บนผิวน้ำเราจะเห็นว่า น้ำจะมีการเคลื่อนตัวเป็นคลื่น กระจายออกเป็นวงกลมรอบจุดที่หินจม ระดับคลื่นจะสังเกตุได้ว่าเริ่มจากจุดกลางแล้วขึ้นสูง แล้วกลับมาที่จุดกลางแล้วลงต่ำ แล้วกลับมาที่จุดกลาง เป็นลักษณะนี้ติดต่อกันไป แต่ละครั้งของวงรอบเราเรียกว่า 1 Cycle โดยการเคลื่อนที่ของสัญญาณ อนาล็อก (Analog Signal) นี้ จะมีระยะทางและเวลาเป็นตัวกำหนดด้วย จึงทำให้มีผลต่อการส่งสัญญาณ อนาล็อก (Analog Signal) ส่วนใหญ่จึงสามารถถูกรบกวนได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นจากสิ่งแวดล้อมภายนอก หรือจากตัวของระบบอุปกรณ์เอง เพราะสัญญาณที่ส่งออกไปนั้นจะเป็นสัญญาณจริง และเมื่อถูกรบกวนก็อาจ จะทำให้คลื่นสัญญาณมีการเปลี่ยนไป จึงทำให้ผู้รับหรือปลายทางนั้นมีการแปลความหมายผิดพลาดได้ เช่น สัญญาณเสียง เป็นต้น
สัญญาณดิจิตอล (Digital Signal) หมายถึง สัญญาณที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Data) ที่มีขนาดแน่นอนซึ่งขนาดดังกล่าวอาจกระโดดไปมาระหว่างค่าสองค่า คือ สัญญาณ ระดับสูงสุดและสัญญาณระดับต่ำสุด ซึ่งสัญญาณดิจิตอลนี้เป็นสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการทำงานและ ติดต่อสื่อสารกันหรือกล่าวได้ว่าสัญญาณดิจิตอลก็คือการที่เรานำเอาสัญญาณ Analog (อนาล็อก) มา แปลงให้อยู่ในรูปแบบของตัวเลข (0,1) โดยการแปลงสัญญาณนี้ต้องอาศัยวงจรประเภทหน่ึงที่เรียกว่า A To D (A/D) หรือ Analog To Digital converter โดยวงจร A/D หลังจากนั้น ก็จะได้สัญญาณ Digital ออกมาเป็นสัญญาณในรูปแบบของตัวเลข (0,1) นั่นเอง โดยจะเป็นสัญญาณที่เกิดจากแรงดันของ ไฟฟ้าจะมีอยู่ 2 ค่าคือ 0 = Min และ 1 = Max โดยค่า Min จะมีแรงดันไฟฟ้าอินพุต อยู่ที่ประมาน 0 โวลต์ และ Max จะมีแรงดันไฟฟ้าอินพุต อยู่ที่ประมาน 5 โวลต์ ดังนั้นสัญญาณชนิดนี้มนุษย์เรา จึงไม่สามารถสัมผัสหรือรับรู้ได้เลย และเมื่อได้เป็นสัญญาณ Digital ออกมาแล้ว จึงทำการส่งข้อมูลไปยัง ผู้รับหรือปลายทาง ทางฝั่งผู้รับหรือปลายทางจะต้องมีตัวแปลงสัญญาณจาก Digital ให้กลับเป็น Analog อีกครั้ง โดยผ่านตัวแปลง คือ D To A (D/A) หรือ Digital To Analog converter
เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสัญญาณ Analog และ สัญญาณ Digital สรุปได้ว่าสัญญาณ Digital เปรียบเสมือนการเปลี่ยนรูปแบบจากสัญญาณ Analog ที่เป็นสัญญาณ คลื่นให้ เป็นสัญญาณไฟฟ้า
ความแตกต่างของระบบระบบกล้องวงจรปิด CCTV ระหว่าง Analog, IP, และ HD-SDI
ทุกวันนี้ระบบโทรทัศน์วงจรปิด หรือเรียกกันติดปากว่าระบบกล้องวงจรปิด CCTV ได้ถูกนำมาใช้ด้วย กันหลายระบบ แบ่งเป็น 3 ประเภท
1. ระบบ Analog เป็นระบบที่ใช้ตั้งแต่มีการคิดค้นระบบกล้องวงจรปิด CCTV ระบบ Analog เป็นระบบที่ใช้สาย สัญญาณ (Coax cable) เช่น สาย RG6 RG11
ข้อดี
ต้นทุน : ระบบอนาล๊อกมีต้นทุนที่ถูกกว่าระบบ IP
ยืดหยุ่นกว่า : เนื่องจากว่ามีกล้องหลากหลายประเภทให้เลือกใช้ ตั้งแต่ระบบเล็กไปถึงระบบ ใหญ่ที่มีอินฟราเรดตั้งตั้งมาพร้อมกับกล้องทำให้มีตัวเลือกสำหรับการใช้งาน ประเภทต่าง ๆ ได้อย่าง เหมาะสม
ความเข้ากันได้ : ในระบบอนาล๊อก มีเพียงระบบ PAL และ NTSC เท่านั้น ทำให้สามารถเลือก กล้องต่างยี่ห้อมารวมในระบบเดียวกันได้
ปัญหาน้อย : เนื่องจากว่าระบบอนาล็อกถูกพัฒนามามากจนแทบจะเรียกได้ว่า อยู่ในช่วง สุดท้าย ของเทคโนโลยีของระบบอนาล๊อกแล้ว ทำให้ปัญหาต่างๆถูกแก้ไขไปจนหมด ปัญหาต่าง ๆ ของระบบ อนาล็อก จึงเกิดขึ้นน้อยมาก
ช่างที่ทำการติดตั้งไม่ต้องมีความรู้ด้านเน็ตเวิร์ก ก็สามารถติดตั้งได้
ข้อเสีย
Function : ระบบอนาล๊อกไม่มีฟังชั่นเช่นเดียวกับที่กล้อง IP มี เว้นแต่กล้องอนาล็อกที่มี ราคา สูงมาก ๆ เท่านั้น
ความปลอดภัย : ระบบอนาล็อกมีความปลอดภัยน้อย เนื่องจากว่าไม่มีการเข้ารหัสของข้อมูล ไม่ว่าใครก็ สามารถดูภาพจากกล้องวงจรปิดได้
ระยะทาง : ไม่สามารถรองรับการส่งสัญญานในระยะไกล ๆ ได้
ความละเอียดของภาพที่ได้ไม่มาก เนื่องจากระบบ Analog ไม่สามารถส่งภาพที่มีความ ละเอียดสูงได้ เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านสาย
2. ระบบ IP (Network) เป็นระบบกล้องวงจรปิด CCTV ที่นำมาใช้แทนระบบ Analog ซึ่งระบบ IP จะส่งสัญญาณในรูปแบบ Digital ทำให้ภาพที่ได้มีความคมชัด ไม่เกิดการสูญหายของสัญญาณ คือถ้ามีการเดินระบบผิดพลาด ภาพก็จะไม่แสดงเลย แต่ถ้าเดินระบบได้ถูกต้องภาพจะมีความชัดตามคุณภาพของกล้องที่ส่งภาพมา ซึ่งต่าง กับระบบ Analog ที่ภาพจะมีทั้ง ภาพชัด ภาพไม่ชัด และภาพหาย สายสัญญาณที่ใช้ในระบบ Digital ส่วนมากจะเป็นสาย Cat5
ข้อดี
Wireless : สนับสนุนการทำงานผ่านระบบไร้สายมากกว่า Analog
ระบบเครือข่ายเดิม : กล้อง IP สามารถใช้ร่วมกับระบบ LAN ที่มีอยู่แล้วได้โดยไม่ต้องเดิน สายใหม่
เพิ่มกล้องได้ง่าย : หากต้องการเพิ่มกล้องสามารถทำได้ง่าย โดยไม่ติดข้อจำกัดในส่วนของ Channel ที่จำกัดของ DVR อีกต่อไป
ประสิทธิภาพสูง : เนื่องจากกล้อง IP แต่ละตัวทำงานแยกอิสระ ไม่ได้ส่งภาพไปประมวลผล ที่ตัวกล้อง ทำให้ได้ภาพที่มีคุณภาพ “เต็มที่” ไม่อั้นที่ DVR อีกต่อไป แต่ละตัวมี IP ของตัวเอง ทำให้การตั้งค่ากล้องแต่ละตัวทำได้ง่าย
ความละเอียด : เนื่องจากเป็นระบบ Digital ทำให้สามารถข้ามข้อจำกัดที่ระบบ Analog ไม่ สามารถทำได้นั่นคือ ข้ามจาก 576 TVL ไปเป็น 1080p หรือ “Hidefinition” ทำให้ได้ภาพที่มี ความละเอียด “สูงมาก” เปรียบเสมือนกับระบบ Analog คือการที่เราดูหนังจาก VDO ธรรมดา แต่ ระบบ Digital เทียบได้กับการดูหนังแบบ Blue ray ได้เลยทีเดียว
POE : บางรุ่นสามารถส่งสายไฟไปพร้อมกับสาย LAN ได้ โดยไม่ต้องเดินสายไฟแยกเพิ่ม ออกไปอีกต่างหาก
ความปลอดภัยสูงมาก : เนื่องจากการทำงานบนของระบบ Digial สามารถที่จะ Backup ข้อมูลบน Server ได้ตลอดเวลา และ Hacker ไม่สามารถ “ดัก”เอาข้อมูลระหว่างทางได้
ข้อเสีย
การส่งผ่านข้อมูล : เนื่องจากใช้ Brandwidth สูงมาก ตั้งแต่ 500 kbps ถึง 1.5 Mbps ทำให้ระบบทำงานหนัก
ต้นทุน : ค่าใช้จ่ายจะสูงขึ้นกว่าระบบAnalog ไม่ว่าจะเป็นค่าอุปกรณ์, การดูแลรักษา แต่ก็มี แนวโน้มที่ลดลงจากเมื่อก่อนมาก
ใช้ข้ามยี่ห้อไม่ได้ : เนื่องจากระบบถูกพัฒนาจากหลายรายทำให้มีมากกว่า 1 มาตราฐาน จึงไม่สามารถใช้กล้องที่มี Protocal ต่างกันเพื่อติดต่อกันได้ หรือให้เข้าใจง่ายๆคือ ข้ามยี่ห้อไม่ได้ นั่นเอง
ผู้ติดตั้งจะต้องมีความรู้ทางด้าน Network รวมไปถึง ความรู้ของผู้ที่บริหารจัดการข้อมูล
3. ระบบ HD-SDI กล้องวงจรปิด CCTV แบบ SDI ย่อมาจาก Serial Digital Interface เป็นระบบ Digital ที่ใช้สาย สัญญาณแบบ Coax หรือ แบบเดิมที่เป็น RG6 เป็นตัวนำสัญญาณ ระบบนี้สามารถส่งสัญญาณภาพโดย ไม่จำเป็นต้องบีบอัดสัญญาณ เพราะระบบรองรับการส่งสัญญาณที่มี ความละเอียดมากกว่าความละเอียด แบบธรรมดาถึง 5 เท่า ทำให้สัญญาณภาพมีความคมชัดในระดับ HD
ข้อดี
สามารถใช้สายสัญญาณเดิมของระบบ Analog ได้ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการ Upgrade
ภาพมีความคมชัดสูง
ผู้ติดตั้ง ไม่จำเป็นต้องมีความชำนาญด้านระบบเน็ตเวิร์ค
ข้อเสีย
ราคาของกล้องและเครื่องบันทึก ยังมีราคาสูงอยู่ แต่ก็มีแนวโน้มลดลง
ตัวกล้องยังมีให้เลือกน้อย ผู้ผลิตกล้องวงจรปิด ยังไม่ได้ทำการผลิตระบบนี้ในจำนวนมาก

ระบบป้องกันการย้อนแสง WDR / BLC คืออะไร

ระบบป้องกันการย้อนแสง WDR / BLC คืออะไร

WDR (Wide Dynamic Range )
WDR-Wide Dynamic Range คือ การที่กล้องถ่ายภาพซ้อนกัน 2 ใบในเวลาเดียวกัน ใบนึงถ่าย ภาพในสภาวะปกติ อีกใบนึงถ่ายให้มีความสว่างมากกว่าปกติ แล้วนำภาพที่ได้มาซ้อนกัน ทำให้ภาพทั้งภาพ มีรายละเอียด คือส่วนที่มืดก็ดึงภาพให้สว่างขึ้น ส่วนที่สว่างเกินไปก็ดึงรายละเอียดกลับมาทำให้มองเห็น รายละเอียดภาพ ซึ่งส่วนใหญ่กล้อง WDR นี้จะใช้มากในสภาพย้อนแสง คือ แสงจากฉากหลังสว่างกว่า วัตถุที่เราสนใจ ซึ่งจะทำให้ภาพซึ่งมีวัตถุที่เราสนใจมืดกว่าปกติ เราจึงต้องแก้ไขด้วยการติดกล้อง WDR เพื่อให้ภาพที่ได้มีรายละเอียด สังเกตจากภาพที่มีระบบ WDR (ภาพใหญ่ทางด้านขวา) จะสามารถมองเห็น คนที่เดินอยู่ด้านนอกกระจกได้ ในทางกลับกัน หากจุดนี้ติดตั้งกล้องแบบธรรมดา ภาพที่ได้วัตถุที่สนใจหรือ คนจะมืดจนมองไม่เห็นรายละเอียด (ภาพด้านซ้ายล่าง) หรือคนที่เดินอยู่ด้านนอกกระจกสว่างจนไม่เห็น รายละเอียดดังภาพ (ซ้ายบน) ในสถานการณ์อย่างนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้กล้อง WDR สังเกตจากภาพ ด้านล่างรูปภาพที่มีระบบ WDR (ภาพใหญ่ทางด้านขวา) จะสามารถมองเห็นคนที่เดินอยู่ด้านนอกกระจกได้ ในทางกลับกัน หากจุดนี้ติดตั้งกล้องแบบธรรมดา ภาพที่ได้ วัตถุที่สนใจหรือคนจะมืดจนมองไม่เห็นรายละ เอียดหรือคนที่เดินอยู่ด้านนอกกระจกสว่างจนไม่เห็นรายละเอียดดังภาพ ในสถานการณ์อย่างนี้จำเป็น อย่าง ยิ่งที่ต้องใช้กล้อง WDR
BLC (Back Light Compensation )
BLC-Back Light Compensation คือ การชดเชยแสงทั้งภาพ เพื่อให้วัตถุที่สนใจในภาพได้รับ ความสว่างจนสามารถมองเห็นรายละเอียดได้ โดยไม่สนใจวัตถุที่อยู่รอบนอก ภาษาช่างภาพคือการชดเชย แสงนั่นเอง ข้อเสียของการชดเชยแบบนี้คือ วัตถุมองเห็นรายละเอียด แต่จะสูญเสียรายละเอียดในส่วนที่ สว่าง คือมันจะขาวจนทำให้เรามองไม่เห็นรายละเอียด มันต้องแล้วแต่สถานการณ์เพราะบางครั้ง สิ่งที่อยู่ ด้านนอกนั้น คือสิ่งที่เราต้องการ เพราะเราไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ภาพด้านบนจะเห็นว่า ถ้าเราติดตั้งด้วยกล้องแบบปกติธรรมดา คนที่ยืนอยู่เราก็จะมองไม่ห็็น เนื่องจากว่าเป็น ภาพย้อนแสง แต่ถ้าติดตั้งกล้อง cctv BLC ก็จะสามารถเห็นรายละเอียดฉากหน้าได้แต่ก็สูญเสียรายละ เอียดฉากหลังไปบ้าง
สรุปก็คือ ตามภาพด้านล่างระหว่างความแตกต่างของ WDR, BLC, และแบบธรรมดาในสภาพย้อนแสง

ข้อควรพิจรณาในการเลือกใช้กล้องวงจรปิด มีอะไรบ้าง

ข้อควรพิจรณาในการเลือกใช้กล้องวงจรปิด มีอะไรบ้าง

ข้อควรพิจรณาในการเลือกใช้กล้องวงจรปิด
1. สถานที่ติดตั้ง มีแสงไม่มีแสง มีการเปลี่ยนแปลงของแสงบริเวณนั้นมากหรือน้อยแค่ไหน
2. ติดตั้งภายนอกหรือภายใน
3. ความละเอียดของภาพ เช่น 420TVL, 480TVL, 520TVL, 540TVL ค่ายิ่งมาก ความละเอียดของภาพยิ่งมาก
4. CCD เช่น ขนาด 1/3, 1/4 ขนาด1/3 (ใหญ่กว่าดีกว่า)
5. Lens ที่ใช้เป็นแบบใด เช่น AutoIris, Fix, Vari FoCal, เลนส์แก้ว หรือพลาสติก
6. การบริการหลังการขาย
ทางที่ดีควรให้ผู้เชี่ยวชาญ อย่างทีมงาน Nakhonsiit เข้าไปสำรวจ เพื่อแนะนำชนิดของกล้องจะดีที่สุด

ข้อควรพิจารณาในการเลือกใช้เครื่องบันทึกภาพ

ข้อควรพิจารณาในการเลือกใช้เครื่องบันทึกภาพ

ข้อควรพิจารณาในการเลือกใช้เครื่องบันทึกภาพ
1. ความง่ายในการใช้งานเครื่อง เช่น ตัวเครื่องมีระบบ GUI (Graphic User Interface) หรือไม่
2. อัตราการแสดงผลภาพต่อวินาที (fps)
3. เทคโนโลยี การบันทึกภาพเป็นแบบไหน เช่น Mpeg, Mpeg4, H.264 ปัจจุบันจะนิยมแบบ H.264
4. คุณภาพของภาพในการบันทึกแล้วนำกลับมาเล่นใหม่
5. ความสามารถของระบบ เช่น ดูผ่าน Internet, ระยะเวลาการบันทึก
6. ราคา
7. การรับประกันสินค้า บริการหลังการขาย

การดูแลรักษากล้องวงจรปิด มีวิธีอย่างไร

การดูแลรักษากล้องวงจรปิด มีวิธีอย่างไร

ระบบ กล้องวงจรปิดจำเป็นต้องได้รับการบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารถใช้ งานได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดเวลา โดยมาตรฐานทั่วไปแล้วระบบกล้องวงจรปิดควรจะทำการบำรุงรักษาทุก ๆ 3 เดือนต่อครั้ง โดยการบำรุงรักษามีรายละเอียดอย่างน้อยคือ
1. ตรวจสอบการทำงานของเครื่องบันทึก และกล้อง โดยการเปิดดูภาพจากกล้องวงจรปิด สิ่งที่แสดงถึงความผิดปกติ เช่น สัญญาณภาพขาดหาย มีสัญลักษณ์เตือนต่าง ๆ ขึ้นบนหน้าจอ เช่น ไม่พบอาร์ดดิส เป็นต้น
2. ตรวจสอบความคมชัดของกล้อง และสิ่งของที่อาจจะบังมุมมองของกล้องได้ หากมีฝุ่นเกาะที่หน้าเลนส์ของกล้อง เราแนะนำให้ใช้ผ้าขนหนู เช็ดที่หน้าเลนส์
ปัญหาอื่น ๆ ที่มักพบได้ในระบบกล้องวงจรปิด เช่น adapter จ่ายไฟฟ้าเสีย เนื่องจากอุปกรณ์นี้จะมีอายุการใช้งานค่อนข้างสั้น ยิ่งถ้าผู้ใช้ ไม่ได้ติดระบบกันไฟกระชาก หรือไฟเกิน ด้วยแล้ว ยิ่งทำให้ adapter เสียก่อน เป็นอันดับแรก อีกส่วนหนึ่งที่มักพบก็คือ สายที่ต่อเข้ากับตัวกล้องชำรุด กรอบ เพราะโดนแดดเป็นเวลานาน ตรงนี้น่าจะเป็นปัญหาตั้งแต่การติดตั้ง เราแนะนำให้หาอุปกรณ์เก็บสาย เช่นกล่อง PVC หรือ ท่อ เพื่อป้องกันความร้อนจากแสงแดด
นอกจากนี้แล้ว การติดตั้งที่ดี ก็จะส่งผลให้อายุการใช้งานของระบบกล้องวงจรปิดเพิ่มมากขึ้น หากต้องการให้มืออาชีพ ประสบการณ์สูง ติดตั้ง กรุณาติดต่อเรา www.nakhonsiit.com

ระบบของตัวกล้องวงจรปิด มีกี่ประเภท

ระบบของตัวกล้องวงจรปิด มีกี่ประเภท

กล้องวงจรปิดแยกเป็น 2 ประเภท

1.กล้องแบบอนาล๊อก (Analog Camera)
เป็นกล้องวงจรปิดที่ใช้สายสัญญาณชนิด โคแอคเชียล หรือ ตระกูล RG มาเป็นอุปกรณ์นำสัญญาณ ข้อจำกัดที่พบเช่น สายสัญญาณถูกคลื่นรบกวน ทำให้ภาพที่ได้ไม่ชัด

2.กล้องแบบไอ พี  (IP Camera)
เป็นกล้องที่ต้องตั้งค่า IP ผ่านระบบเครือข่าย เพื่อกำหนดตัวตนในการแสดงภาพ และต้องอาศัยสายชนิด LAN หรือ CAT5 มาเป็นตัวต่อเชื่อมต่อ หรือบางรุ่นอาจใช้เป็นแบบไร้สายได้  ระบบนี้มีราคาแพงกว่าระบบแรก และต้องอาศัยความรู้มากกว่าในการเซ็ทระบบ

TVL (TV Line) คืออะไร

TVL (TV Line) คืออะไร

TVL – Television Lines
TVL เป็นหน่วยวัดความละเอียดของกล้องตามแนวนอน หรือคือจำนวนเส้นที่กล้องสามารถแสดงภาพได้ ซึ่งมีผลต่อความความคมชัดของตัวกล้องวงจรปิด ยิ่งมีจำนวนเส้น TVL สูง ภาพที่ได้ก็จะคมชัดและละเอียดยิ่งขึ้นตามไปด้วย  เช่น กล้องวงจรปิด ความคมชัด 520 เส้น จะให้ภาพที่ชัดกว่ากล้องวงจรปิดที่มีความคมชัด 420 เส้น เป็นต้น
ค่าเฉลี่ยของ TVL ที่กล้องมาตรฐานควรจะมีอยู่ที่ระหว่าง 380-540 TVL
การแปลงค่า TVL ให้ออกมาเป็นจำนวน Pixel ให้ใช้สูตร
“จำนวน Pixel รวม =  จำนวน TVL * 4/3 * จำนวน Pixel แนวตั้ง (V)”
ยกตัวอย่าง
กล้อง TVL 540 ภาพมีขนาด 720 (H) x 576 (V) คิดสูตรเป็น 540 * 4/3 * 576 = 0.414 Megapixels
กล้อง TVL 600 ภาพมีขนาด 753 (H) x 582 (V) คิดเป็นสูตร 600 * 4/3 * 582 = 0.465 Megapixels
ปัจจุบัน กล้องวงจรปิดมี TVL หลายแบบให้เลือก โดยมีความละเอียดตั้งแต่ 320 , 380 , 420 , 480 , 520 , 540 , 580 , 620 TVL  หรือมากกว่าแล้วแต่เทคโนโลยีของแต่ละบริษัทหรือโรงงานผู้ผลิต ทั้งนี้ กล้องวงจรปิดที่มีความคมชัดสูง ๆ ราคาก็จะสูงตามไปด้วย
ในตารางคุณสมบัติของกล้องโดยมากจะบอกความละเอียดอยู่สองแบบ คือ ตามแนวตั้ง (Vertical) และ แนวนอน(Horizontal)
ความละเอียดตามแนวตั้ง (Vertical Resolution) – VTVL
ความ ละเอียดตามแนวตั้งหมายถึงจำนวนเส้นตามแนวนอน ตามมาตรฐานระบบ PAL จำนวนเส้นจะเป็น 625 เส้น จอแสดงผลภาพแบบ PAL อัตราส่วนจะอยู่ที่ 4:3 ดังนั้นถ้าคิดตามอัตราส่วนที่ว่าความละเอียดสูงสุดแนวตั้งเป็น 0.75 เท่าของอัตราส่วนแนวนอน ดังนั้นความละเอียดสูงสุดแนวตั้งจะเป็น
PAL 625 X 0.75 = 470 เส้น
ความละเอียดตามแนวนอน(Horizontal Resolution) – HTVL
ความ ละเอียดตามแนวนอนเท่ากับจำนวนของความละเอียดตามแนวตั้ง  ในทางทฤษฎีความละเอียดตามแนวนอนสามารถเพิ่มได้ไม่จำกัดแต่ติดอยู่ที่ข้อ จำกัด 2 อย่างคือ เทคโนโลยีในการเพิ่มจำนวนพิกเซลบนตัวรับภาพ (CCD ) ยังไม่ดีพอ เพราะยิ่งเพิ่มจำนวนพิกเซล ขนาดของพิกเซลก็ยิ่งลดลงซึ่งกระทบกับความสามารถด้านความไวแสง ดังนั้นจึงต้องชั่งน้ำหนักเอาระหว่างความละเอียดกับความไวแสง
TVL หรือ TV Line ที่บอกในรายละเอียดของกล้อง คือ ความละเอียดของกล้องตามแนวนอน ( HTVL ) เป็นค่าความคมชัดของตัวกล้องวงจรปิด ยิ่งมีค่ายิ่งมากภาพก็จะยิ่งชัดขึ้นและละเอียดขึ้น เช่น กล้องวงจรปิด ความคมชัด 520 เส้น จะให้ภาพที่ชัดกว่า กล้องวงจรปิด ที่มีความคมชัด 420 เส้น เป็นต้น กล้องวงจรปิดที่มีความคมชัดสูง ๆ ราคาก็จะสูงตามไปด้วย
การคำนวณค่า pixel จาก Horizontal Resolution สามารถคำนวณได้จาก
VTVL = HTVL * 0.75
Total pixel = HTVL * VTVL
กล้องวงจรปิดที่เป็นอนาล็อก สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงคือเรื่องคมชัดของกล้อง ต้องดูที่ค่าของ TVLine ดูง่ายๆ ก็คือค่า TVLine หรือ เส้นสแกน ค่ายิ่งมากก็แสดงว่ากล้องตัวนั้นมีความคมชัดมากขึ้น จะต่างจากกล้องที่เป็นระบบดิจิตอล(Network Camera/IP Camera) ที่ค่าจะบอกเป็นพิกเซล หรือ VGA ซึ่งจะขอกล่าวถึงในห้วข้อต่อไป
จะทราบได้อย่างไรว่าค่าที่บอกมาเป็นความ จริง แล้วค่าจริงๆ คือเท่าไหร่
วิธีการวัดความละเอียด
วิธีการวัดความละเอียดมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี
1. การใช้ชาร์ตวัดความละเอียด (resolution chart)
สิ่ง แรกที่ต้องเตรียมคือ Test TVLine Chart จะเป็นกระดาษหรือพลาสติกก็ได้ แต่ต้องเป็นผิวด้านเพื่อลดการสะท้อนแสง นำกล้องที่จะทำการวัดค่า TVLine มาจับภาพที่ Test TVLine Chart ปรับเลนส์ในตำแหน่งที่ชัดที่สุด
สังเกต ภาพขณะที่แสดงบนจอแสดงผลหาตำแหน่งที่มีค่าสูงที่สุด(ค่า TVLine)ที่สามารถแยกเส้นออกจากกันได้ ส่วนที่ไม่สามารถแยกเส้นออกจากกันได้นั่นหมายความว่ากล้องไม่สามารถจับภาพ ที่ความละเอียดมากกว่านั้นได้ นั่นเอง
การวัด จะต้องใช้จอที่มีความละเอียดในการแสดงผลสูงด้วยเช่น วัด TVLine ที่ 500 TVLine จะต้องใช้จอที่มีความละเอียดในการแสดงผลสูงกว่า 500 TVLine ซึ่งจอแสดงผลทั่วไปไม่สามารถแสดงผลได้
2. วิธีวัดแบนด์วิทธ์
เป็นการ วัดความละเอียดโดยใช้เครื่องมือวัดแบนด์วิทธ์แล้วเอามาคูณด้วย 80 จะได้ความละเอียดของกล้อง เช่น วัดแบนด์วิทธ์ได้ 5Mhz ความละเอียดที่ได้คือ 5 * 80 = 400 เส้น