วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วิธีตรวจสอบว่าเป็นเจ้าหน้าที่จริงหรือไม่

ถึงเพื่อนช่างและผู้ประกอบการร้าน ซ่อมคอม ร้านเกมส์-เน็ท

วิธีตรวจสอบว่าเป็นเจ้าหน้าที่จริงหรือไม่

1. ต้องมีหมายค้น (หมายค้น ไม่ใช่บันทึกประจำวัน) ตรวจดูความถูกต้องของหมายค้นให้ละเอียด ชื่อร้าน บ้านเลขที่ วันที่ ที่ศาลอนุญาตให้เข้าตรวจ เวลาที่กำหนดไว้ ว่า กี่โมง ถึงกี่โมง

1.1) ในกรณีที่ร้านไม่มีบ้านเลขที่ หรือไม่มีชื่อร้าน ในหมายจะต้องระบุอย่างละเอียดว่า เป็นบ้านไม่มีเลขที่ด้านซ้ายอยู่ติดกับร้านอะไร ด้านขวาอยู่ติดกับอะไร มีอะไรเป็นข้อสังเกตุ หรือชี้ชัดว่าเป็นร้านนี้

1.2) ถ้าพิมพ์ชื่อร้านผิด หรือ บ้านเลขที่ผิด เราปฎิเสธไม่ให้ตรวจค้นได้ทันที

1.3) ถึงมีหมายค้นมาแต่ถ้าเลยเวลาที่ศาลกำหนดไว้ หรือวันที่ไม่ตรง ก็เข้าตรวจค้นไม่ได้

2. มาพร้อมกับตำรวจชั้นสัญญาบัตร ที่มีชื่ออยู่ในหมายค้นด้วย

2.1) วิธีดูง่าย ๆ ว่าตำรวจชั้นสัญญาบัตรหรือไม่ คือ ต้องมี ดาวบนบ่าอย่างน้อย 1 ดวง

2.2) ขอดูบัตรตำรวจว่าชื่อตรงกับในหมายศาลไหม บัตรหมดอายุหรือยัง ถ้าหมดอายุแล้ว เราปฎิเสธไม่ให้ตรวจค้นได้ทันที

3. อนุญาตให้เฉพาะคนที่มีชื่อในหมายค้นเข้าค้น อยู่ในร้าน คนที่ไม่มีชื่อบอกให้รอข้างนอกร้าน โดยให้เหตุผลว่าเราดูแลไม่ทั่วถึง

4. ต้องมีช่างเทคนิค ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์มาด้วย

5. หากพบการกระทำความผิด ไม่มีการยกเครื่องใด ๆ ทั้งสิ้น แต่จะอายัดไว้ในที่เกิดเหตุ ตามแบบสากล

6. ไม่มีการเรียกร้องเงิน เพื่อให้ยอมความในชั้นตำรวจ

สำหรับแก๊งค์มิจฉาชีพจับลิขสิทธิ์ นั้น จะไม่มีหมายค้นจากศาลมา แต่มักจะเอาใบบันทึกประจำวันมาแอบอ้าง ขอให้ทุกท่าน หนักแน่นเข้าไว้ " ไม่มีหมายศาล ไม่ให้ค้น "



สถานบริการที่มีประตูปิด เช่น ร้านเกมส์ คาราโอเกะ ที่ติดแอร์ ไม่ถือว่าเป็นสาธารณะ นะครับ
ต้องมีหมายค้นถ้ามาอย่างจริงใจ โดยหน้าที่ ก็ต้องมีเอกสารครบนะครับ
- หนังสือมอบอำนาจ จากเจ้าของลิขสิทธิ์
- หมายค้นจากศาล มีรายละเอียด บ้านเลขที่ ระยะเวลา และสาเหตุที่ต้องค้น ถูกต้อง
หากมีการยึดเครื่องคอมฯ โดยเอกสารไม่ครบ ท่านสามารถแจ้งความกลับ ในข้อหากรรโชกทรัพย์
หรือลักทรัพย์ได้ ซึ่งเป็นคดีอาญาเลยทีเดียว

-----------------------------------------------------------------
โปรแกรม thai translator tool มาจับลิขสิทธิ์อ้างมีผู้รับมอบอำนาจช่วงชื่อ "นายสมชัย ปัจจัย" จาก บริษัท เอนซี ดิจิ ซอฟท์ 2005 จำกัด ลองหาข้อมูลใน Google ดูนะ

-นครศรีธรรมราช
-กระบี่
-สุราษฏร์ธานี
-ภูเก็ต

วีธีการแก้เกม เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมทีมนำจับ เข้าตรวจค้นจับกุมลิขสิทธิ์

เอาไว้เป็นกรณีศึกษาสำหรับคนที่ยังไม่ทราบครับ

กฎหมาย ลิขสิทธิ์ ให้อำนาจแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ในการดำเนินการกับผู้ที่กระทำการละเมิดไว้ แต่ปัจจุบันนี้เจ้าของลิขสิทธิ์บางรายใช้อำนาจทางกฎหมายนี้หาประโยชน์เข้า ใส่ตัวเอง โดยใช้อำนาจทางกฎหมายออกไปจับกุมดำเนินคดีกับผู้ประกอบธุรกิจประเภทร้าน อาหาร ภัตตาคาร สถานบันเทิง ที่ให้บริการฟังเพลงหรือร้องเพลงคาราโอเกะที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์


เนื่องจากการกฎหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์อย่าง เต็มที่ โดยเจ้าของลิขสิทธิ์จึงมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการที่จะกระทำการใดๆ แก่งานของตน เช่น ทำสำเนา ดัดแปลง หรือนำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน เป็นต้น ซึ่งเป็นไปตามหลักสากลในเรื่องการคุ้มครองลิขสิทธิ์ และความตกลงระหว่างประเทศด้านลิขสิทธิ์ที่ประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย
ดังนั้น หากผู้ประกอบธุรกิจท่านใดนำงานเพลงไปเปิดให้บริการแก่ลูกค้าโดยไม่ได้รับ อนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ก็จะถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์หรือตัวแทนรับมอบอำนาจจากเจ้าของลิขสิทธิ์สามารถจับกุม ดำเนินคดีเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจากการกระทำละเมิดได้
อย่างไรก็ตาม การจะจับกุมดำเนินคดีในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ได้นั้น เจ้าของลิขสิทธิ์หรือตัวแทนรับมอบอำนาจจะต้องไปร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ ตำรวจก่อน โดยการเข้าจับกุมทุกครั้งจะต้องกระทำโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ เนื่องจากเจ้าของลิขสิทธิ์หรือตัวแทนไม่อาจดำเนินคดีได้โดยลำพัง
เพราะฉะนั้น หากใครที่ไม่ต้องการที่จะตกเป็นผู้ต้องหาในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ ก็ควรจะปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย คือ ขอใบอนุญาตประกอบกิจการตามแต่ธุรกิจที่ตนดำเนินการอยู่ให้ถูกต้อง และไม่ควรที่จะลืมการขออนุญาตใช้ลิขสิทธิ์จากเจ้าของลิขสิทธิ์ด้วย แต่เมื่อท่านเจอปัญหาตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ควรมีข้อปฏิบัติดังนี้

1.เมื่อตำรวจเข้าค้นและจับกุมลิขสิทธิ์ ท่านต้องตั้งสติให้ดี อย่าตื่นเต้นจนเกินไป
ติดต่อเพื่อนๆหรือ ญาติ ให้ชวนกันมาให้มากที่สุด ติดต่อผู้รู้ หรือนักกฎหมาย หรือโทรฯปรึกษาโดยทันที

2. ตรวจสอบเอกสารที่ตำรวจและทีมนำจับนำมา ซึ่งจะต้องมีเอกสารดังนี้

การเข้าค้น - ตามปกติต้องมีหมายค้น เว้นแต่ค้นโดยไม่ต้องมีหมาย (กรณีละเมิดลิขสิทธิ์นี้ยากมาก เพราะต้องผ่านการร้องทุกข์ รับมอบอำนาจ พนักงานสอบสวนจะสอบสวนเบื้องต้น ลง ปจว.ก่อนเข้าค้น เสียก่อน) มีรายละเอียดและขั้นตอนปฏิบัติก่อนค้นพอสมควร ใช้เวลา ปฏิบัติทันทีไม่ได้ ส่วนมาก ก็เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ต่างๆ มอบอำนาจให้ บริษัทจัดเก็บบ้าง ผู้แทนบ้าน เข้าแจ้งความร้องทุกข์มอบคดีให้ พนักงานสอบสวนดำเนินการตามกำหมาย หากไม่มีหมายค้น มา ก็ปฏิเสธไม่ให้เข้าค้นได้ มีอำนาจป้องกันและต่อสู้ขัดขวางเพื่อปกป้องทรัพย์และสถานที่ได้ด้วย
การจับ - จับตามหมายจับ หรือ จับด้วยเหตุที่ไม่ต้องมีหมายจับ คือ จับขณะกระทำผิดซึ่งหน้า การจับแบบมีหมายก็ต้องผ่านขั้นตอนเหมือนข้อแรก นำหมายจับมาแสดง หากท่านไม่ใช่เจ้าบ้าน ตำรวจต้องมีหมายค้นมาด้วย หากท่านเป็นเจ้าบ้าน หรือ เป็นคู่สมรสมีทะเบียน เป็นผู้ถูกจับก็ไม่ต้องใช้หมายค้น ใช้หมายจับแทนหมายค้นได้เลย หรือ มีพฤติการณ์กระทำผิดแล้วกำลังจะหลบหนี ไม่สามารถออกหมายจับได้ทันท่วงที แต่ต้องมีเหตุออกหมายจับได้ด้วย เขาก็จับได้โดยไม่ต้องมีหมาย อย่างไรก็ตาม แม้ละเมิดลิขสิทธิ์จะเป็นผิดซึ่งหน้า แต่ก็ต้องผ่าน กระบวนการร้องทุกข์ มอบคดี สอบสวนเบื้องต้นมาพอสมควรก่อน ไม่ใช่จะเข้าไปได้เลยในทันที การยืนยันชี้ให้จับกุมโดยอ้างว่าร้องทุกข์ด้วยวาจาไว้แล้ว ยังไม่น่าจะเพียงพอสำหรับคดีลิขสิทธิ์ และสุ่มเสี่ยงต่อการปฏิบัติหน้าทื่ ของ ตำรวจ
หมายศาล ซึ่งเป็นหมายค้น ในหมายศาลจะต้องอ่านดูว่า วันที่ในหมายศาล
หมดกำหนดหรือยัง (เพราะโดยปกติ ศาลจะไม่ออกหมายศาลเป็นเวลาหลายๆวัน)
สถาน ที่ให้เข้าค้น ชื่อร้านถูกต้องหรือตรงกับร้านเราหรือไม่บ้านเลขที่ถูกต้องหรือตรงกับร้าน เราหรือไม่ ถ้าไม่ถูกต้องอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้ท่านปฏิเสธการเข้าตรวจค้น ถ้ายังไม่ยอมจะเข้ามาในร้าน ให้โทรศัพท์แจ้งตำรวจท้องที่ทันที

บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ตำรวจ,บัตรประจำตัวผู้รับมอบอำนาจ,บัตรประจำตัวผู้รับ
มอบ อำนาจช่วง รูปในบัตรกับตัวจริงต้องเป็นบุคคลคนเดียวกัน และตรงกับที่ระบุในหมายศาล ท่านต้องยอมให้บุคคลดังกล่าวเข้ามาในร้านได้แต่เฉพาะ บุคคลที่มีรายชื่อในหมายศาลเท่านั้น

อ่านข้อกล่าวหาว่า มาค้นในเรื่องอะไร เช่นเรื่องละเมิดลิขสิทธิ์ดูในรายละเอียดว่า ลิขสิทธิ์โปรแกรมซอฟแวร์อะไร ลิขสิทธิ์เกมส์อะไรหรือลิขสิทธิ์เพลงอะไร เพื่อที่จะทราบในขั้นต้นว่า เรามีโปรแกรม หรือซอฟแวร์อะไร ที่เขาจะตรวจค้นเราหรือไม่
ดูการมอบอำนาจว่าถูกต้องหรือไม่ โดยหนังสือมอบอำนาจจะต้องมีการมอบอำนาจจากเจ้าของลิขสิทธิ์จนถึงผู้รับมอบ อำนาจช่วงคนสุดท้ายโดยไม่ขาดสาย และตรวจสอบหนังสือยืนยันความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ รวมทั้งตรวจสอบบัตรตัวแทนรับมอบอำนาจหรือหนังสือรับรองการเป็นตัวแทนรับมอบ อำนาจที่ออกโดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา ตลอดจนบัตรประจำตัวประชาชนว่าบุคคลนั้นเป็นบุคคลคนเดียวกับผู้ที่ได้รับแต่ง ตั้งให้เป็นตัวแทนหรือไม่
ถ้าตรวจสอบแล้ว พบว่าไม่ถูกต้อง ก็ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าอาจจะเป็นการแอบอ้างจับกุมดำเนินคดีละเมิด ลิขสิทธิ์เพลง โดยที่ผู้จับกุมไม่มีอำนาจ แต่หากตรวจสอบแล้วถูกต้อง ก็ต้องยอมรับในการที่จะถูกจับกุม หากผู้ประกอบธุรกิจมีการกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์จริงการมอบอำนาจช่วง ต้องไม่ขาดตอน ถ้าขาดตอนการมอบอำนาจก็ไม่ถูกต้อง การค้นตามหมายศาลก็ไม่ถูกต้อง ท่านมีสิทธิที่ไม่ยอมให้ตรวจค้นได้

3. หลังการตรวจค้น ไม่ว่าจะพบหรือ ไม่พบการละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ควรเซ็นชื่อในเอกสารใดๆที่เจ้าหน้าที่ตำรวจส่งให้ท่าน ไม่ว่าจะเซ็นรับทราบ หรือเซ็นยอมรับข้อกล่าวหาหรือเซ็นเพื่อยอมรับว่าไม่มีความเสียหายใดในการ ตรวจค้นครั้งนี้ ก็ตามควรที่จะปรึกษาผู้รู้หรือนักกฎหมายเสียก่อน

4. ในกรณีไม่มีหมายค้นโดยอ้างว่าเป็นความผิดซึ่งหน้า และ /หรือเจ้าของลิขสิทธิ์ได้แจ้งความไว้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจไว้แล้วท่านมี สิทธิ์ปฏิเสธการตรวจค้นได้ทันที เพราะกฎหมายข้อนี้
คณะ กรรมการกฤษฎีกาได้ มีความเห็นว่ากระทำไม่ได้เพราะขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญโดยคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ตอบข้อหารือของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า การกระทำดังกล่าวไม่สามารถกระทำได้โดยรายละเอียดปรากฏตามหนังสือของสำนักงา นกฤษฏีกา เรื่องเสร็จที่ ๔๕๒/๒๕๔๖ โดยมีสาระสำคัญว่า การตรวจค้นจับกุมดังกล่าวไม่เป็นข้อยกเว้นที่ให้อำนาจพนักงานฝ่ายปกครองหรือ ตำรวจจับได้โดยไม่ต้องมีคำสั่งหรือหมายของศาลเนื่องจากมิใช่กรณีเป็นความผิด ซึ่งหน้าหรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นที่ให้จับได้ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย ซึ่งท่านสามารถนำไปอ้างอิง และโต้แย้งกับผู้ที่มาตรวจค้นจับกุมได้

5. ในกรณีที่มีการพบการละเมิดลิขสิทธิ์

- กรณีที่ท่านมีเจตนาที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม
ก็ ควรเจรจากับตัวแทนหรือ ผู้รับมอบอำนาจของเจ้าของลิขสิทธิ์ (อย่าใช้ภาษากฎหมาย) โดยยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่เจ้าของลิขสิทธิ์การยินยอมชดใช้ค่าเสียหาย ไม่จำต้องยินยอมในวันที่ถูกจับ(ถ้าหากท่านสามารถประกันตัวในวันที่ถูกจับ ได้) อาจจะยินยอมในวันต่อๆมา
หรือ อาจเปลี่ยนเป็นสู้คดีก็ได้

-กรณีที่ท่านไม่มีเจตนาที่จะละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม ท่านต้องเตรียมประกันตัวเพื่อต่อสู้คดีต่อไป

6. การประกันตัว
- ปกติการประกันตัวหรือ ปล่อยชั่วคราว เป็นดุลยพินิจของพนักงานสอบสวน หรือ
เจ้า หน้าที่ตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ที่จะกำหนดวงเงินประกันตัวในกรณีการจับกุมร้านเน็ตและเกมส์ ในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ ที่ผ่านมามักจะกำหนดในวงเงิน 50,000 บาท ถึง 200,000 บาท แต่ปัจจุบันนี้
ผบ.ตร.ได้ มีหนังสือกำชับหน่วยงานของตำรวจให้ ปฏิบัติตามเกี่ยวกับการปล่อยตัวชั่วคราวโดยได้ให้กำหนดจำนวนเงินในการประกัน ตัวผู้ต้องหาด้วยเงินสด จำนวน 50,000 บาท(ห้าหมื่นบาทถ้วน) ซึ่งถ้าหากเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนกำหนดเงินประกันเป็นเงินสด สูงกว่า 50,000 บาทท่านมีสิทธิ์ที่จะสอบถามและขอให้ปฏิบัติตามคำสั่งของผบ.ตร.
-การประกันตัวนี้หากท่านไม่สามารถหาบุคคลหรือเงินสดมาค้ำประกันในการปล่อย ตัวชั่วคราวได้ท่านสามารถซื้อประกันอิสรภาพได้ ซึ่งจะเสียค่าใช้จ่ายไม่มากนักซึ่งจะทำให้ท่านพ้นจากการเรียกเงินประกัน จำนวนมากเพื่อบีบให้ยอมความโดยที่ท่านไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ใดๆเลย รายละเอียดตามเวปไซท์ด้านล่างนี้
(จดหมายเลขโทรศัพท์ไว้ด้วยเพื่อจำเป็นต้องใช้ในยามจำเป็น) http://www.viriyah.co.th/customer/cust_product_misc_freedom.asp

7.ว่า ถ้ามีอยู่ในเครื่องคอมของเจ้าของร้านทำไมถึงผิด และเก็บไว้อย่างดีลูกค้าไม่มีทางหาเจอเป็นต้น และแม้จะมีอยู่ในเครื่องลูกค้า ก็เป็นเรื่องที่ลูกค้าโหลดไว้ มิใช่เจ้าของร้านโหลดไว้ และทราบได้อย่างไรว่าเจ้าของร้านโหลดไว้ อันนี้เป็นข้อต่อสู้คดีนะครับ

8.ถ้า ตำรวจผู้นั้นไม่ยอมรับฟัง หรือบอกว่าหัวหมอ ก็ใช้ไม้ตายสุดท้ายคือสับสวิทย์ไฟลงทันที และถ้าตำรวจบอกว่าต่อสู้ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ฯลฯ ก็รีบให้ตำรวจแจ้งข้อหาและจับกุมเลยครับ (เพราะมันไม่ผิดข้อหานี้เพราะตำรวจถ้าไม่มีหมายศาลแล้ว เมื่อปิดร้าน ไม่มีอำนาจค้นแล้วครับ) เมื่อไม่มีอำนาจย่อมไม่เข้าองค์ประกอบความผิดฐาน ต่อสู้หรือขัดขวางฯลฯ ถ้าถูกตำรวจถูกจับ คนที่จะซวย(ติดคุก)ก็คือตำรวจครับ


9.เมื่อ ร้านเกมส์เป็นที่รโหฐานแล้ว หากแม้ตอนเข้ามาจะไม่ผิดบุกรุก แต่เมื่อเจ้าของสถานที่บอกให้ออกไป ย่อมต้องออกไปนะครับ ถ้าไม่ออกผิดบุกรุก ตาม ป.อ.มาตรา 364,365 แล้วแต่กรณี


http://www.rightsoftcorp.com/?name=news&file=readnews&id=34

วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รายการต่อไปนี้เป็นเครื่องมือที่ผมใช้อยู่บ่อยๆ

หลายๆ ตัวมันไว้ดูรายละเอียดการทำงานของเครื่องได้เยอะ
บางตัวอาจเฉพาะทาง แล้วก็ดูงงๆ หน่อย
แต่ใช้รวมกันก็ช่วยให้เรามีข้อมูลในการวิเคราะห์หาสาเหตุข้อขัดข้องต่างๆ ของระบบได้ดีขึ้น
รายการต่อไปนี้เป็นเครื่องมือที่ผมใช้อยู่บ่อยๆ ใครมีอะไรเสริมก็แนะนำเพิ่มได้เลยครับ



อันแรกเลยครับ เครื่องมือหลักประจำเครื่อง

" top "



 (capture ช้าไปสองวิ เสียดายจัง) 

ไม่ต้องลงเพิ่ม ติดมากับ os อยู่แล้วไม่ว่าจะลงแบบ minimal ขนาดไหน
หรือถ้าทำหายไป มันจะอยู่ใน package "procps" ครับ

มันบอกอะไรบ้าง
ไล่ทีละบรรทัดเลยนะครับ (คิดจากค่าปกติของ centos ซึ่ง os อื่นๆ ก็คล้ายๆ กัน อาจมีแตกต่างบ้างแล้วแต่การปรับตั้งค่า)

บรรทัดบนสุด
top - 09:13:20 up 187 days,  8:40,  1 user,  load average: 0.43, 0.66, 0.61
สีแดง: เวลาปัจจุบันของ server
สีเขียว: uptime (ระยะเวลาตั้งแต่ boot OS ขึ้นมา)
สีม่วง: จำนวน user ที่ login เข้าไปใน shell (การ login หน้าเครื่อง + ssh ที่เปิด terminal เท่านั้น)
สีน้ำเงิน: load average : ปริมาณงานที่ "ค้าง" ในระบบเฉลี่ย ในรอบ 1 , 5 และ 15 นาทีตามลำดับ

บรรทัดที่ 2: บรรทัดนี้จะบอกข้อมูลเกี่ยวกับ process ในเครื่องครับ
Tasks: 183 total,  3 running180 sleeping,  0 stopped,  0 zombie
สีแดง: จำนวน process ทั้งหมด
สีเขียว: จำนวน process ที่กำลังเรียกใช้ CPU อยู่ "ณ เวลานั้นๆ"
สีม่วง: จำนวน process ที่ไม่มีการทำงาน/ไม่มีการเรียกใช้ CPU อยู่
สีน้ำเงิน: process ที่อยู่ในสถานะ "หยุด" (ไอนี้ไม่แน่ใจครับ คู่มือมันเขียนแบบนั้นแต่ผมไม่เคยเห็นตัวเลขขึ้นซักที)
สีชมพู: process ผีดิบ lol มันคือ process ที่ตาย/จบการทำงานไปแล้ว แต่ยังไม่สามารถ clear ออกจากหน่วยความจำได้ ส่วนมากจะเป็นพวก process ที่รอการตอบสนองจาก hardware ต่างๆ อยู่ครับ (รวมถึงแรมด้วย

บรรทัดที่ 3: การใช้งาน CPU อันนี้มีของเล่นนิดหน่อยครับ สำหรับเครื่องที่ cpu หลาย core หรือหลาย cpu
Cpu(s):  4.0%us,  0.7%sy,  0.0%ni, 94.1%id,  0.9%wa,  0.0%hi,  0.3%si,  0.0%st

สังเกตดีๆ มันจะเขียนหน้าบรรทัดว่า Cpu(s) <-- ตรง (s) หมายความว่าเป็นภาพรวม cpu ทุก core
ให้กดแป้นพิมพ์เลข 1 ตรงแป้นพิมพ์ธรรมดา ที่อยู่ข้างๆ ปุ่มตัวหนอน (` / ~) แล้วมันจะแตกออกมาเป็นแบบนี้ครับ

Cpu0  : 27.6%us,  7.2%sy,  0.2%ni, 53.6%id, 10.9%wa,  0.0%hi,  0.5%si,  0.0%st
Cpu1  : 28.1%us,  7.2%sy,  0.1%ni, 55.3%id,  9.0%wa,  0.0%hi,  0.4%si,  0.0%st
Cpu2  : 27.8%us,  7.0%sy,  0.2%ni, 62.0%id,  2.8%wa,  0.0%hi,  0.2%si,  0.0%st
Cpu3  : 28.1%us,  7.3%sy,  0.2%ni, 58.8%id,  3.4%wa,  0.2%hi,  2.1%si,  0.0%st

แยกกันให้เห็นหมดเลย ว่า CPU ไหนกำลังทำอะไรอยู่
ทีนี้ แต่ละ column ที่มีตัวอักษรย่อสองตัว มีความหมายต่างกันตามนี้ครับ

us => user :: เป็นการเรียกใช้ CPU ตามปกติของโปรแกรม ที่เป็นการประมวลผลภายในโปรแกรมนั้นๆ
sy => system :: การเรียกใช้คำสั่งในระดับ kernel ที่มีการประมวลผลอยู่ภายใน kernel โดยไม่เรียกใช้ hardware
ni => nice :: การจัดลำดับความสำคัญของการประมวลผล (priority) ไว้สลับการทำงานของ process ที่มี priority ต่างๆ กันเวลาเรียกใช้ cpu พร้อมๆ กัน
id => idle :: cpu ที่ว่างงาน
wa => iowait :: เป็นการ ''เสียเวลารอ'' การเรียกใช้ และติดต่อกับ hardware ตั้งแต่ harddisk ram การ์ดจอ การ์ดแลน (แต่ส่วนใหญ่ก็ harddisk แหละ)
hi => ?
si => ? (สามอันนี้ขออภัยด้วยครับ ไม่ทราบจริงๆ ส่วนมากก็ไม่ค่อยขึ้นมาให้เห็นเท่าไหร่ด้วย)
st => ?

บรรทัดที่ 4-5: เกี่ยวกับหน่วยความจำ ขอรวบเป็นหัวข้อเดียวเลยนะครับ เพราะมันเกี่ยวข้องกัน
Mem:  8310380k total,  4970936k used,  3339444k free,  217448k buffers
Swap:  6225904k total,    52816k used,  6173088k free,  3001860k cached
สีแดง: RAM ทั้งหมดที่ติดตั้งไว้ และ OS มองเห็น (หมายถึงหน่วยความจำหลักอย่างเดียวครับ)
สีชมพู: ใช้แรมไปแล้ว "ทั้งหมด" เท่าไหร่
สีเขียว: แรมที่ยังว่างจริงๆ (คือไม่ได้จองให้กับอะไรเลย)
สีส้ม: แรมที่ถูกใช้เป็น buffer ที่พักข้อมูลก่อนที่จะมีการอ่าน/เขียนลง harddisk หรือ CPU 
สีม่วง: swap space พื้นที่แรมเสมือนทั้งหมด ที่ใช้พื้นที่จาก harddisk เก็บข้อมูลแทนแรม --- บน windows มันจะมีชื่อว่า pagefile 
สีน้ำเงิน: ปริมาณการใช้งาน swap space มากน้อยไม่ใช่ปัญหาเท่าไหร่ (ถึงมันจะไม่ควรใช้ก็ตาม) แต่ถ้าตัวเลขแกว่งไปมา (พร้อมกับ iowait พุ่ง) หมายความว่ามีปัญหาแรมไม่พอจนต้องมาเขียนลง swap space
สีน้ำตาล: พื้นที่ swap space ที่ไม่ได้ใช้งาน
สีดำ: เป็น file system memory cache ครับ คือ linux จะมีการใช้ ram เพื่อเก็บข้อมูลไฟล์ที่มีการเรียกใช้งานบ่อยๆ ไว้ใน ram (เผื่อมีอะไรก็อ่านเอาจากแรมไปเลย เร็วกว่าเยอะ)

วิธีคิดพื้นที่แรมว่าง ให้คิดจาก free + cached ไม่นับพื้นที่ cache เป็นพื้นที่ที่มีการใช้งาน
เพราะมันจะถูกลบออกได้เสมอถ้ามีความต้องการใช้แรมจาก process เยอะๆ


ส่วนพื้นที่ที่เหลือด้านล่าง จะเป็นรายการ process ทั้งหมด (แสดงเท่าที่พื้นที่จอเหลือ)
เรียงลำดับตามปริมาณการใช้งาน CPU ของ process นั้นๆ (เปลี่ยนได้ครับ)

มีหัวข้อตามนี้
PID : หมายเลข process id
USER : user ที่ process ทำงาน
PR : priority ของ process ที่ nice เท่ากัน
NI : รหัส nice เรียงความสำคัญของ process (ยิ่งน้อยยิ่งสำคัญ)
VIRT : ปริมาณการใช้งาน virtual image ทั้งหมด (ตั้งแต่ process ยันเตไปถึงการเรียก library)
RES / SHR : การใช้แรมส่วนของ private (เฉพาะภายใน app) / shared (ram กลางของระบบ)
S : สถานะของ process
%CPU : ปริมาณการใช้งาน CPU (นับต่อ core นะครับ) สมมติ cpu 4 core + process รัน 4 thread แต่ละ thread เรียกใช้ cpu เต็มที่ มันก็ขึ้น 400 ขึ้นมาได้เหมือนกัน
%MEM : ปริมาณการใช้งาน ram เป็น %
TIME+ : "ระยะเวลา" ที่เรียกใช้ CPU ทั้งหมดตั้งแต่รัน process (เพราะ process ไม่ได้ทำงานตลอดเวลา)
COMMAND : คำสั่งที่ใช้รัน process


ลูกเล่นเพิ่มเติมของ top สามารถหาอ่านได้จากคำสั่ง man top นะครับ
มีอีกเพียบ นี่แค่แซมเปิ้ลๆ lol

อันที่สอง ขอสั้นๆ บ้าง (เหนื่อย)


" w "

(สั้นไปมั้ย?)



บรรทัดแรกเหมือนกับการสั่ง top เลยครับ lol
ส่วนด้านล่างแค่แสดงรายการ user ที่กำลัง login อยู่แค่นั้นเอง ไม่มีอะไร สั้นๆ ง่ายๆ


หรือถ้าจะเอาแค่รายละเอียด load average ก็สั่ง
" uptime "
เฉยๆ ก็ได้


(สั้นได้ใจ)
ที่น่าใช้อีกตัว ... ไอ้นี่ได้มาจากใครแล้วก็ไม่รู้ 

" dstat "




อันนี้ต้องลงเพิ่มครับ อยู่ใน package ชื่อ dstat
สั่ง yum install dstat ได้เลย
สีสันสวยงามน่าใช้


ค่าปกติถ้ารันแบบไม่ระบุ parameter เพิ่ม มันจะแสดงผลตามนี้ครับ

----total-cpu-usage---- -dsk/total- -net/total- ---paging-- ---system--
usr sys idl wai hiq siq| read writ| recv send| in out | int csw


6 ชุดแรกเป็น CPU usage
2 อันต่อมาเป็น ปริมาณการอ่าน/เขียน harddisk
2 อันต่อมาเป็น ปริมาณการรับ/ส่ง ข้อมูลเน็ต
2 อันต่อมาเป็นการเรียกใช้ paging (swap)
2 อันสุดท้าย เป็น interrupt และ context switch

ช่องที่น่าสนใจคือช่องที่ผมทำตัวแดงๆ ไว้ครับ
ดูประกอบกัน 5 ช่อง wait เยอะ disk read/write เยอะ == harddisk ทำงานหนัก
int/csw ขึ้นกับจำนวน process ส่วนมากถ้าเป็น hosting ไอ้ csw มันก็เยอะล่ะครับ


(คำสั่งนี้ไม่แน่ใจว่าใน vps ใช้ได้รึเปล่านะครับ ยังไม่เคยเทส)



ต่อกันด้วยการ monitor traffic แบบสดๆ ว่าเน็ตวิ่งเท่าไหร่ยังไง

" iptraf "


ต้องลงเพิ่มอีกเหมือนกันครับ ลงแบบปกติไม่มีมาให้
yum install iptraf ได้เลยเหมือนกัน

*** คำเตือน คำสั่งนี้เปลือง cpu เอาการ และไม่ค่อยได้ช่วยอะไรซักเท่าไหร่ ไว้ดูเล่นขำๆ ละกันครับ

หัวข้อที่ใช้งานจริงๆ มีแค่ 3 อันบนแค่นั้นแหละครับ นอกนั้นอันอื่นก็ไม่มีอะไรให้ดู
(อันที่จริงผมดูแค่อันที่ 3 ด้วยซ้ำ)

กดปุ่มตัว d (หรือกดลูกศรเลื่อนลงมาก็ได้) แล้วเลือกการ์ด lan ที่จะจับ traffic


ก็ไม่มีอะไรมากครับ บอกปริมาณ traffic ที่วิ่งอยู่สดๆ แค่นั้นเอง
แยก protocol แยก in out ให้หน่อยนึง

อันนี้เครื่องมือหลักอีกตัว (ไว้ใช้คู่กับ top)

" iostat "


ลงเพิ่มอีกเหมือนกันครับ อยู่ใน package ชื่อ "sysstat"
yum install sysstat เอา


iostat เป็นคำสั่งที่มีวิธีรันให้ดูสดๆ ได้อยู่หลายวิธีครับ ที่ใช้เพื่อดูสถานะการทำงานของ harddisk แต่ละลูก

ตย.

# iostat -ktx 2 

Time: 10:24:47 AM
avg-cpu:  %user  %nice %system %iowait  %steal  %idle
          2.38    0.00    1.38    5.75    0.00  90.50

Device:        rrqm/s  wrqm/s  r/s  w/s    rkB/s    wkB/s avgrq-sz avgqu-sz  await  svctm  %util
sda              0.00  741.50  0.00 28.00    0.00  3074.00  219.57    5.31  156.38  5.62  15.75
sda1              0.00    0.00  0.00  0.00    0.00    0.00    0.00    0.00    0.00  0.00  0.00
sda2              0.00  741.50  0.00 28.00    0.00  3074.00  219.57    5.31  156.38  5.62  15.75
sdb              0.00    0.00  0.00  0.00    0.00    0.00    0.00    0.00    0.00  0.00  0.00
sdb1              0.00    0.00  0.00  0.00    0.00    0.00    0.00    0.00    0.00  0.00  0.00
dm-0              0.00    0.00  0.00 772.50    0.00  3090.00    8.00    89.29  113.97  0.20  15.75
dm-1              0.00    0.00  0.00  0.00    0.00    0.00    0.00    0.00    0.00  0.00  0.00



เปิดมาตั้งเยอะ แต่ดูแค่ 4 หัวข้อ 5555

คือมันบอกละเอียดจริงๆ น่ะครับ แต่ที่สนใจหลักๆ มีแค่ 4 อันพอตามที่ทำตัวแดงไว้
อธิบาย

rrqm/s => read request / second (จำนวนการร้องขอการอ่านข้อมูล ต่อวินาที)
wrqm/s => write request / second (จำนวนการร้องขอการเขียนข้อมูล ต่อวินาที)
r/s => จำนวนครั้งที่อ่าน (หน่วยเป็น IOP)
w/s => จำนวนครั้งที่เขียน (หน่วยเป็น IOP)
rkB/s => ปริมาณข้อมูลที่อ่านได้ "ต่อวินาที"
wkB/s => ปริมาณข้อมูลที่เขียนได้ "ต่อวินาที
avgrq-sz =>
avgqu-sz => สองอันนี้ไม่รู้ครับ :)
await => ระยะเวลาในการ "รอ" การทำงานของ harddisk (ค่าตรงนี้แปรผันตรงกับ cpu iowait ครับ)
svctm => อันนี้ก็ไม่รู้ :)
%util => utilization (ปริมาณการทำงาน)เป็นเปอร์เซ็นต์ ของ harddisk



ถ้าเป็น SSD ค่า r/s กับ w/s จะมาคู่กับ await ครับ (ssd ที่ดี ต่อให้ r/s กับ w/s เยอะๆ await ก็ไม่ควรเกิน 200 ครับ)
เคยเจออาการ await พุ่งกระจาย หมายความว่า harddisk เสีย หรือมีความพยายามเขียนข้อมูลลงไปในตำแหน่งที่เขียนไม่ได้
(หรือถ้าเป็น ssd คือคิวค้าง lol)




อธิบายคำสั่งนิดหน่อย

# iostat -ktx 2 
ตัว k => ระบุหน่วยเป็น KB (เพื่อให้อ่านง่ายขึ้น)
ตัว x => เข้า mode แสดงรายละเอียดเยอะๆ
เลข 2 ด้านหลัง => หน่วงเวลาต่อการ refresh ข้อมูล 1 ครั้ง (แก้ได้ครับ)
และสามารถใส่ตัวเลขเพิ่มได้อีกตัวนึง => จะเป็นการระบุว่า ให้แสดงผลทั้งหมดกี่ครั้ง แล้วจบการทำงาน (ถ้าไม่ใส่ มันจะ refresh ไปเรื่อยๆ)

เครื่องมือหากินอีกตัว ใช้บ่อยพอๆ กับ top ด้วยซ้ำ lol

" mytop "


วิธีลงวุ่นวายหน่อยนึงครับ ยิ่งถ้าใช้ DA นะ  :angryfire:
สำหรับ fedora สั่ง yum install mytop เลยครับ
ส่วน centos (ไม่ได้ใช้ DA) ตามนี้ครับ


wget -O /etc/yum.repos.d/thai.repo http://thzhost.com/files/thai.repo
yum install mytop


OS อื่นๆ หรือคนที่ใช้ DA อาจติดปัญหาพวก perl module บ้างอะไรบ้าง
(แบบว่าไม่มีเครื่องที่ใช้ DA ในมือเลยซักเครื่อง เลยลองไม่ได้น่ะครับ)


ลงเสร็จแล้วสั่งตามนี้ครับ
vi ~/.mytop


แล้วใส่เนื้อหาไปตามนี้
user=USERNAME
prompt=1
database=mysql


แก้คำว่า USERNAME เป็น user ที่มีสิทธิ์ระดับ root ของ mysql ด้วยนะครับ
(plesk ใช้ admin / da ปกติใช้ da_admin / ค่าปกติ mysql ใช้ root)



มันบอกอะไรบ้าง! ทีละบรรทัดเหมือนเดิม

บรรทัดแรก
MySQL on localhost (5.0.83-log)                        up 6+12:32:21 [10:56:14]

บอกว่า connect ไปที่ server ไหน version อะไร และ mysqld ทำงานมาแล้วกี่วัน


บรรทัดที่ 2
Queries: 84.9M  qps:  158 Slow:    0.0        Se/In/Up/De(%):    51/00/00/00
สีแดง ปริมาณ query ทั้งหมดตั้งแต่รัน mysql มา
สีเขียว ปริมาณ query เฉลี่ยต่อวินาที
สีม่วง slow query (query ที่ใช้เวลานานกว่าที่ตั้งไว้)
สีน้ำตาล แยกเป็น select insert update delete ตามลำดับ หน่วยเป็น % ว่าแต่ละประเภทมีปริมาณ query เท่าไหร่


บรรทัดที่ 3 ต่อเนื่องจากอันบนครับ แต่บรรทัดนี้จะเริ่มนับตั้งแต่ mytop refresh ข้อมูลครั้งล่าสุด (คือค่าเฉลี่ยสดๆ)
            qps now:  221 Slow qps: 0.0  Threads:    3 (  1/ 203) 56/00/00/00
สีแดง: ปริมาณ query ต่อวินาที
สีม่วง: slow query
สีน้ำตาล: connection (thread) ที่ค้างอยู่ใน mysql 


บรรทัดที่ 4
Key Efficiency: 99.9%  Bps in/out:  0.0/  0.0  Now in/out:  8.4/ 2.3k
สีแดง แต่ละ query เรียกใช้ index / key ต่างๆ ได้ดีแค่ไหน
สีเขียว ปริมาณ bandwidth ที่ mysql ใช้ผ่าน tcp connection
สีน้ำตาล ปริมาณข้อมูลที่วิ่งผ่าน mysql socket (localhost)


ส่วนรายการด้านล่างเป็น process ที่เข้ามาใน mysql ครับ
Id => process id
User => user ของ mysql
Host/IP => ต้นทางการเชื่อมต่อ
DB => ฐานข้อมูลที่กำลังทำงานอยู่
Time => ใช้เวลาทำงานกับคำสั่งปัจจุบันนานเท่าไหร่แล้ว
Cmd => สถานะการทำงานของ process
Query or State => คำสั่ง query ที่เข้ามา (หรือ sleep)

ค่าที่ต้องดูมีแค่สองอันนี้แหละครับ

ดูว่า state ไม่ใช่ sleep
แล้วมาดู time ว่าเยอะผิดปกติรึเปล่า (query ทั่วไปไม่ควรใช้เวลาเกิน 2 วินาที)


query ไหนมีปัญหาก็ลองเข้าไปดูตามฐานข้อมูล กับ user ที่ mytop บอกแล้วตรวจสอบ query หรือตารางดูครับว่ามีปัญหาอะไรยังไงรึเปล่า

สรุปว่าเวลานั่งเฝ้าสถานะ server แล้วควรจะเปิดอะไรบ้าง


1) top
2) iostat
3) mytop
4) apache status
5) mrtg/munin/monit/cacti/..... อะไรพวกนี้แหละ
6) ssh terminal เปล่าๆ อีกจอไว้เผื่อพิมพ์คำสั่ง

เปิด ssh 4 หน้า เปิด browser อีก 2 ต่อ 1 server

อะ ลืมเขียน apache status


สำหรับ centos httpd rpm (ที่มากับ OS) เปิดไฟล์ /etc/httpd/conf/httpd.conf
สำหรับ directadmin apache เปิดไฟล์ /etc/httpd/conf/extra/httpd-info.conf (มั้ง)

แก้
ExtendedStatus On
<Location /server-status>
    SetHandler server-status</Location>


ตรง <Location /server-status> สามารถแก้คำว่า server-status เป็นอย่างอื่นก็ได้ (และควรแก้ด้วยเพื่อความปลอดภัย)
เสร็จแล้ว restart / reload apache ทีนึง

แล้วเวลาจะเข้าไปดูก็เข้า http://IP/server-status (หรือคำอื่นๆ ตามที่เคยแก้ไขไว้)

ถ้าจะให้มัน refresh อัตโนมัติด้วย ก็ใส่ http://IP/server-status?refresh=30
(แก้เลข 30 ได้เลยครับ หน่วยเป็นวินาที)



จุดที่ควรดู... กรอบแดงด้านบน

CPU Usage: u521.73 s176.69 cu1.76 cs0 - .641% CPU load
54.5 requests/sec - 465.4 kB/second - 8.5 kB/request
5 requests currently being processed, 16 idle workers

บอกภาพรวมของ apache ทั้งระบบว่าใช้งานอะไรยังไงอยู่บ้าง
จำนวน process ที่ทำงานอยู่มีเท่าไหร่ process ที่แตกออกมาแล้วอยู่เฉยๆ มีเท่าไหร่
พร้อมกะจุดๆ ขีดๆ แสดง slot ของแต่ละ process ว่ามีอะไร

(คำอธิบายอยู่ด้านล่างครับ)



ลงมาแถวล่างต่อ เป็นรายการ request ที่เข้ามา apache ครับ
จะบอกได้ว่า process ไหนกำลัง(หรือเคย)ทำงานให้กับอะไรอยู่

อธิบายเฉพาะในกรอบแดงนะครับ (อันอื่นมันตรงตัว ไม่ก็เอาไปก็ทำไรไม่ได้)

PID => process id (อันนี้ตรงกับในเครื่องครับ ไปเทียบดูได้)
CPU => ปริมาณการใช้งาน CPU ของ process นั้นๆ (process หนักรึเปล่าดูจากช่องนี้)
SS => ระยะเวลาที่ใช้ process request นั้น (ยิ่งเยอะแสดงว่า process ทำงานนาน อาจมีปัญหา)
VHost => ชื่อ domain ที่ตั้งใน ServerName ของแต่ละ VHost (โดยมากก็ชื่อโดเมน / subdomain นั่นแหละครับ)
Request => บอก URL ว่า request อยู่ที่ URL ไหน


เวลาดูว่าเว็บไหนทำงานหนัก ให้ดูช่อง CPU กับ SS ที่เลขเยอะๆ
แล้วมาดู Request ว่าเข้าไปที่ URL ไหนของโดเมน แล้วไป check การทำงานของไฟล์ script ตาม URL นั้นดูครับ
ทีนี้ถ้าให้โหลดไฟล์ SS ขึ้นเยอะก็ไม่แปลกครับ เพราะเริ่มนับตั้งแต่ client connect เข้ามาเลย


vmstat เป็น virtual memory statistics realtime รายงาน process, memory, paging, block IO and cpu activity

procs -----------memory---------- ---swap-- -----io---- --system-- -----cpu------
r  b  swpd  free  buff  cache  si  so    bi    bo  in  cs us sy id wa st
0  1    68 503688 149848 2200136    0    0  203  305  57  104 10  2 82  5  0

รายละเอียดการดู ดูได้แค่ว่าใช้เท่าไร ไม่มีค่า max กำกับ
อาศัยดูบ่อยๆ เป็นประจำ ก็พอจะช่วยวิเคราะห์ได้บ้างครับ


credit : http://bit.ly/vFnpMn