วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2558

พื้นที่ที่สามารถรับชม ดิจิตอลทีวีได้

Analog TV vs Digital TV

    ระบบ การถ่ายทอดสัญญาณฟรีทีวีในบ้านเราทุกวันนี้ ยังเป็นการส่งสัญญาณ
    มาทางอากาศในแบบเก่า คืออนาล็อกอยู่ค่ะ ซึ่งก็มีสัญญาณรบกวนได้ง่าย ภาพไม่คมชัด
    บางทีก็เป็นเม็ดๆ บางทีก็เป็นเม็ดๆ แต่ถ้าเป็นการส่งสัญญาณทีวีแบบดิจิตอล
    ภาพก็จะคมชัดในระดับ HD ไม่มีสัญญาณรบกวน และ ผู้ชมก็มีทางเลือกมากขึ้นได้เป็นร้อยช่อง
    รองรับการชมบนจอกว้าง Widescreen 16:9 ที่สำคัญคือเป็นฟรีทีวี ที่ดูได้ฟรีเหมือน
    ช่อง 3, 5, 7, 9,11, PBS แต่เปลี่ยนเป็นส่งสัญญาณด้วยระบบดิจิตอล และไม่ใช่อินเทอร์เน็ตทีวี
    ไม่ใช่ทีวีดาวเทียม และไม่ใช่เคเบิลทีวี สามารถรับชมได้โดยต่อสายอากาศเข้ากับทีวีได้เลย
    เฉพาะทีวีที่มีจูนเนอร์เป็นทีวีดิจิตอลเท่านั้น (ทีวีที่ขายตามร้านตั้งแต่ปี 2557 เท่านั้น)
    ส่วนทีวีที่ใช้อยู่ตามบ้านประมาณ 99 % ไม่รองรับทีวีดิจิตอล แต่ถ้าต้องการรับชมทีวีดิจิตอล
    ต้องติดตั้งกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอลเพิ่ม ราคาจำหน่ายเพียง 1,290 บาท เท่านั้น
    และเสาอากาศแบบแยกส่วนราคาเพียง 390 บาท


    ดิจิตอลทีวี Digital TV

    มี การส่งสัญญาณ คล้ายคลึงกับ Analog แต่ส่งเป็นระบบ digital โดยส่งสัญญาณตรงๆ
    จากสถานีโทรทัศน์ ตรงไปยังตัวรับสัญญาณซึ่งส่วนใหญ่ที่นิยมจะเป็นกล่องรับสัญญาณดิจิตอล
    (Set Top Box) แบบ DVB-T2 และทีวีที่รองรับระบบรับสัญญาณดิจิตอล DVB-T2 ด้วย
    ซึ่งขณะนี้ แบบ ที่รองรับ DVB-T2 มีจำหน่ายในไทย น้อยรายอยู่ นอกจากนี้อุปกรณ์ที่รองรับ
    Digital TV ยังสามารถ ชมรายการย้อนหลังได้ด้วยหากกรณีคุณพลาดชมรายการนั้นๆ
    ซึ่งความสามารถนี้แบบ Analog ยังไม่มี หากเปรียบง่ายๆก็คล้ายคลึงกับโทรศัพท์มือถือ
    ที่แบบมีเสายุคแรกๆ ซึ่งเป็นแบบ Analog สัญญาณเสียงไม่ชัด ก็ถูกเปลี่ยนไปจนกระทั่งสมัยนี้
    มีแต่แบบ digital แล้วเท่านั้น ท่านสามารถสั่งซื้อกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอลได้แล้ว
    ช่องรายการทีวีดิจิตอล ของประเทศไทย ที่จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ


    ช่องรายการเด็กและเยาวชน

   
    ช่อง 13 บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด (ช่อง 3)
   
    ช่อง 14 บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) (MCOT)
   
    ช่อง 15 บริษัท ไทยทีวี จำกัด ในเครือทีวีพูล

    ช่องข่าวและสาระ

   
    ช่อง 16 บริษัท ไทย นิวส์ เน็ตเวิร์ค (ทีเอ็นเอ็น) TNN
   
    ช่อง 17 บริษัท ไทยทีวี จำกัด (TV POOL)
   
    ช่อง 18 บริษัท ดีเอ็น บรอดคาสท์ เครือเดลินิวส์ (Daily News)
   
    ช่อง 19 สปริงนิวส์ เทเลวิชั่น (Spring News)
   
    ช่อง 20 บริษัท 3เอ มาร์เก็ตติ้ง (Bright TV)
   
    ช่อง 21 บริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด (Voice TV)
   
    ช่อง 22 บริษัท เอ็นบีซี เน็กซ์ วิชั่น (เครือ Nation)

    ช่องรายการทั่วไป ความคมชัดมาตรฐาน (SD)

   
    ข่อง 23 บริษัทไทย บรอดคาสติ้ง จำกัด (Workpoint)
   
    ช่อง 24 บริษัททรู ดีทีที จำกัด (True)
   
    ช่อง 25 บริษัท จีเอ็มเอ็ม เอสดี ดิจิทัล ทีวี จำกัด (แกรมมี่)
   
    ช่อง 26 บริษัทแบงคอก บิสสิเนส บรอดแคสติ้ง จำกัด ในเครือเดอะเนชั่น
   
    ช่อง 27 บริษัท อาร์.เอส เทเลวิชั่น จำกัด (ค่าย RS)
   
    ช่อง 28 บริษัทบีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด หรือช่อง 3
   
    ช่อง 29 บริษัทโมโน บรอดคาซท์ จำกัด (Mono)

    ช่องรายการทั่วไป ความคมชัดสูง (HD)

   
    ช่อง 30 บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) (MCOT)
   
    ช่อง 31 บริษัท จีเอ็มเอ็ม เอชดี ดิจิทัล ทีวี จำกัด
   
    ช่อง 32 บริษัท ทริปเปิล วี บรอดคาสท์ จำกัด ในเครือหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ (Thairath TV)
   
    ช่อง 33 บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด ในเครือสถานีโทรทัศน์ช่อง 3
   
    ช่อง 34 บริษัท อมรินทร์ เทเลวิชั่น จำกัด
   
    ช่อง 35 บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด (ช่อง 7)
   
    ช่อง 36 บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด


    ทีวีดิจิตอลภาคพื้นดิน จะเปิดให้บริการในปี 2557 ในพื้นที่ต่างๆ
    ของประเทศไทย สถานีหลัก ปีที่ 1 จำนวน 11 สถานี

    1 เมษายน 2557
        1. กรุงเทพมหานคร
        2. นครราชสีมา
        3. เชียงใหม่
        4. สงขลา

    1 พฤษภาคม 2557
        5. อุบลราชธานี
        6. สุราษฎร์ธานี
        7. ระยอง

    1 มิถุนายน 2557
        8. สิงห์บุรี
        9. สุโขทัย
        10. ขอนแก่น
        11. อุดรธานี

    ช่องรายการที่สามารถรับชมได้ (วันที่ 4-01-2557)

        1.CH-3 on TV5 network
        2.CH-5 on TV5 network
        3.CH-7 on TV5 network
        4.CH-9 on TV5 network
        5.CH-11 on TV5 network
        6.TPBS SD on TV5 network
        7.CH-5 HD on TV5 network
        8.TPBS HD on TV5 network

    พื้นที่ที่สามารถรับชม ดิจิตอลทีวีได้

        1.กรุงเทพฯ - รับได้ทุกพื้นที่
        2.ปริมณฑล (นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร) - รับได้ทุกพื้นที่
        3.พระนครศรีอยุธยา - รับได้บางพื้นที่
        4.นครปฐม - รับได้บางพื้นที่
        5.สมุทรสงคราม - รับได้บางพื้นที่
        6.นครนายก - รับได้บางพื้นที่
        7.สุพรรณบุรี - รับได้บางพื้นที่
        8.สระบุรี - รับได้บางพื้นที่่่
        9.ฉะเชิงเทรา - รับได้บางพื้นที่
       10.ปราจีนบุรี - รับได้บางพื้นที่
       11.ชลบุรี - รับได้บางพื้นที่
       12.เชียงใหม่ - รับได้บางพื้นที่
       *** อนาคตจะมีการขยายสัญญาณไปอีกหลายจังหวัด ***

รู้จักกับ MTU MTU หรือ Maximum Transmission Unit


MTU
ขอบคุณรูปภาพประกอบจาก http://www.tcpipguide.com/free/diagrams/ipfragmentationreassembly.png
ในหน้าการตั้งค่าการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ฟีเจอร์หนึ่งบนเร้าเตอร์ที่เราจะเห็นคือ MTU ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับเจ้า MTU ว่ามันมีประโยชน์อย่างไร ซึ่งถ้าใครใช้อินเตอร์เน็ตแล้วหลุดบ่อยหรือเข้าเว็บแล้วช้ารอนานเล่นเกมไม่ เสถียร แนะนำให้อ่านเป็นอย่างยิ่ง รวมถึงการหาค่า MTU ที่ถูกต้องเพื่อกำหนดให้เร้าเตอร์ของเรา ถ้าพร้อมแล้วตามอ่านกันได้เลย

รู้จักกับ MTU

MTU หรือ Maximum Transmission Unit ก็คือค่าที่กำหนดปริมาณการรับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องของเรากับ ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) ครับไม่ใช่สโมสรฟุตบอล ปกติจะมีค่า default = 1500 byte หรือถ้าจะให้อธิบายให้เข้าใจลองคิดว่าเจ้า MTU นี่คือขนาดของกล่องพัสดุที่สามารถบรรจุสิ่งของหรือข้อมูลได้จำนวนหนึ่ง ถ้าเราใส่ของที่มีขนาดใหญ่เกินกว่าที่กล่องจะรับได้มันก็จะปิดไม่ลงและส่ง ไม่ได้ใช่มั้ยครับ ซึ่งแต่ละเครื่องเวลาจะส่งข้อมูลไปในอินเตอร์เน็ตก็ต้องเลือกกล่องที่สามารถ บรรจุของได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อประหยัดเที่ยวในการขนส่ง ซึ่งถ้าต้องขนส่งหลายเที่ยวก็จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุระหว่างทาง และไม่สามารถขนส่งไปถึงได้ ทีนี้ก็ต้องมาหาว่าค่า MTU เหมาะสมและถูกต้องเป็นเท่าไหร่เพื่อให้เราสามารถขนส่งของหรือข้อมูลได้มี ประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อลดความสูญเสียข้อมูลระหว่างทางและเพิ่มความเสถียรให้กับการใช้งาน อินเตอร์เน็ตของเราในหัวข้อถัดไปครับ

วิธีการหาค่า MTU ที่เหมาะสม

สำหรับผู้ที่ใช้ Windows นะครับ
1. ให้เปิด Command Prompt ขึ้นมานะครับ
kb386-002_en_v3
2. พิมพ์คำสั่งตามรูปแบบนี้ครับ  ping  [URL] [–f] [ –l]  [MTU Value] 
ตัวอย่างเช่น ping www.yahoo.com –f –l 1500
mtu1500
ถ้าขึ้น Packet needs to be fragmented but DF set. แสดงว่าค่า MTU หรือขนาดของข้อมูลที่เราใส่ไปมันใหญ่ไปครับ ให้ลองปรับลงทีละ 10 ดูครับ
3. ทดลองปรับค่า MTU ลงอีก 10 ครับ ใช้คำสั่ง ping www.yahoo.com –f –l  1490 ครับ ถ้ายังขึ้นข้อความเดิมอีกก็ลองปรับลงอีก จะมากน้อยกว่านี้ก็แล้วแต่ครับ
mtu1490

4. ผมทดลองปรับจนเหลือค่า MTU = 1472 byteครับ
mtu1472

5.แต่ถ้าผมลองปรับ MTU = 1473 byteก็จะเริ่มไม่ได้แล้ว
mtu1473

จะเห็นได้ว่าค่า MTU = 1472 byte เป็นค่าที่เหมาะสมแต่ไม่ใช่ค่าที่ถูกต้องที่เราจะมากำหนดให้ที่ตัวเร้าเตอร์ ครับมันต้องเผื่อไว้สักเล็กน้อยคือต้องบวกอีก 28 byte ครับ (20 byte คือจำนวนของ ip header และอีก 8 byte คือ จำนวนของ ICMP header ) สรุปแล้วเราจะได้ค่า  MTU ที่ถูกต้องเพื่อไปกำหนดให้เร้าเตอร์คือ 1472+28 = 1500 ครับเมื่อได้ค่า MTU แล้วคราวนี้เราจะไปเซ็ตค่านี้ในเร้าเตอร์ของเรากันครับ
*** หรืออีกทางเลือกหนึ่งถ้าเราไม่อยากที่จะมาทำตามขั้นตอนเหล่านี้ก็สามารถใช้ ค่า MTU ที่เป็นค่า default ของผู้ให้บริการก็ได้ครับตามนี้เลย
  • TOT = 1492
  • TRUE = 1492
  • 3BB = Call Center บอกว่าไม่ต้องเซ็ต บอกให้ใช้เป็น Auto แต่ผมแนะนำว่าให้ทำตามตัวอย่างด้านบนครับ

วิธีการเซ็ตค่า MTU บนเร้าเตอร์ Linksys

1. เปิดเบราเซอร์ เช่น Internet Explorer,Firefox,Chrome หรือ Safari เข้าหน้าการตั้งค่าเร้าเตอร์โดยพิมพ์ 192.168.1.1 ในช่อง address bar แล้วกด Enter
kb386-006_en_v7
2. จะมีหน้าต่างขึ้นมาให้ใส่ Username: admin และ Password : admin (หรือ password ที่คุณตั้งไว้)
kb386-007_en_v7

3. ไปที่แท็บ Basic Setup แล้วเลือก MTU เป็น Manual
kb386-023_en_v6
4. ในช่อง Size ให้ใส่ค่า MTU ที่ถูกต้องลงไป (สูงสุดไม่เกิน 1500)
kb386-019_en_v5
5. จากนั้นกดปุ่มsave-settingsเพื่อบันทึกการตั้งค่า