วิธีการเชื่อมต่ออุปกรณ์ UBNT รุ่น Rocket M (รูปเอามาจากคู่มือในกล่อง)
1.เปิดฝาครอบด้านล่างออกโดยดันตัวล็อคขึ้นด้านบน แล้วสไลด์ฝาครอบลงด้านล่าง
2.เสียบสายแลนจากช่อง LAN ของตัว Rocket เข้ากับช่อง POE ของอะแด็ปเตอร์
3.ต่อสายแลนจากช่อง LAN ของอะแด็ปเตอร์
4.เสียบสาย Power เข้ากับตัว POE
5.ปิดฝาครอบ
เมื่อเรียบร้อยแล้วจะเป็นแบบนี้ แนะนำควรต่อเสาตลอดเมื่อคอนฟิกค่าทุกครั้ง เดี๋ยวภาครับส่งตัว AP จะพังครับ
วิธีการคอนฟิกค่า Rocket M
1.เช็คสายแลน ตรวจสอบการเชื่อมต่อให้เรียบร้อย
2.ฟิก IP LAN ที่คอมพิวเตอร์เป็น 192.168.1.X (x ต้องไม่ใช่ 1,20,255) ในที่นี้ผมใช้เป็น
192.168.1.254 และ Subnet 255.255.255.0
หากไม่เข้าใจ อ่านที่กระทู้นี้ครับ กด
3.เปิดเวปบราวเซอร์ พิมพ์ IP ของ UBiQUiTi 192.168.1.20 Username:ubnt Password:ubnt แล้วกด Login
4.Firmware ที่ผมใช้อยู่คือ Version v5.3.5
5.ไปที่แท็บ Network ตรง Network
Setting เปลี่ยน IP ให้อยู่ใน Network เดียวกันกับ Gateway ที่เราใช้
เผื่อว่ามีติดตั้งอุปกรณ์ UBNT ตัวใหม่เข้ามา
ควรจัดกลุ่มอุปกรณ์ไว้ด้วย เช่น Gateway 10.0.0.1 dhcp range ที่ 10.0.0.50-10.0.0.200
IP ที่เป็นของพวก AP จะเป็นช่วง 10.0.0.2-10.0.0.10 หรือมากกว่าจำนวนนั้นก็ตามระบบที่ทำเอาไว้
ตัวอย่าง Gateway ผมเป็น 192.168.1.1 ผมจึงเปลี่ยนเพียงแค่ IP ของ Rocket เท่านั้น DNS จะใส่หรือไม่ใส่ก็ตามสะดวก
Auto IP Aliasing ติ๊กเครื่องหมายถูกไว้ด้วยครับ เสร็จแล้ว Change และ Apply
6.login เข้า Rocket ที่ IP 192.168.1.2 ไปที่แท็บ WIRELESS เปลี่ยนตามนี้ครับ
Wireless Mode:Access Point
SSID:ตั้งชื่อสถานีตามที่ต้องการ ของผมตั้งเป็น ubnt_Main ครับ
Channel Width:20 MHz เผื่ออุปกรณ์บางรุ่นที่ไม่รองรับ 40 MHz จะเชื่อมต่อไม่ได้ครับ
Frequency, MHz:เลือกใช้ช่องที่ความหนาแน่นของ AP น้อยที่สุด 1=2412 6=2437 11=2462 ของผมเลือกเป็นช่อง 11 ครับ
Antenna Gain:Gain ขยายของเสา ของผมใช้เสาแถม 6 dBi
Cable Loss:0 ถ้าไม่ได้ใช้สายนำสัญญาณ
ถ้าใช้ให้ถามคนขายด้วยว่าสายประเภทที่ใช้อัตราสูญเสียเท่าไหร่ต่อเมตร สายถ้า loss น้อยราคาจะแพงขึ้นครับ
เช่น LLC200(สายเทียบ LMR200)=< 0.554 dB/m ที่ 2.5GHz หรือ LLC400(สายเทียบ LMR400)=0.222dB/M ที่ 2.5GHz และ 0.3dB/M ที่ 5GHz
Output Power:28 dBm ไปก่อน ค่อยลดหาค่าที่เหมาะสม จริงๆควรตั้งอยู่ประมาณ 20-25 dBm ครับ
Max TX Rate, Mbps:ปล่อยเป็น Automatic ไปครับ
Wireless Security ตรงช่อง Security แนะนำยังไม่ต้องตั้งครับ
เสร็จแล้วกด Change และ Apply ถ้าเคยเซตจนคล่องแล้ว จะ Change แล้วรอ Apply ทีเดียวก็ได้
แต่มือใหม่แนะนำค่อยๆเป็นไปทีล่ะนิดดีกว่า
7.ไปที่แท็บ AirMax อันแรก ติ๊กเครื่องหมายถูกตรง Airmax ออก เพื่อปิดการทำงาน ทำให้อุปกรณ์ที่ไม่มี AirMax เชื่อมต่อได้ เสร็จแล้วกด Change และ Apply
เพียงแค่นี้ก็สามารถเอาสายแลนที่ต่อคอนฟิกค่ากับคอมพิวเตอร์ไปเสียบเข้ากับ switch หรือเร้าเตอร์ได้แล้วล่ะครับ
ใช้ wireless lan ลองเชื่อมต่อดูก็ใช้งานได้ปกติ
8.ที่แท็บ SYSTEM เปลี่ยน Timezone เป็น (GMT+07:00)Bangkok,Hanoi,Jakarta)
Device Name: จะเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนก็ได้
Administrator Username:แนะนำให้เปลี่ยนครับ ไม่ควรเป็นค่าเดิมๆ เดี๋ยวมีใครมาเปลี่ยนให้
สามารถเปิดใช้งาน Account แบบดูได้อย่างเดียวด้วย
9.ที่แท็บ SERVICE
เปิดใช้งาน Ping Watchdog ให้อุปกรณ์เช็คสถานะ ถ้าติดต่อตัว Gateway ไม่ได้ให้ Reboot AP (เหมาะสำหรับใช้ร่วมกับ WDS)
IP Address To Ping : กรอก IP ที่ต้องการเช็ค ไม่ว่าจะ WAN&LAN ที่ต้องการ
Ping Interval : ระยะห่างการ Ping
ในแต่ละช่วง ตามรูปผมให้ ping 192.168.1.1 ทุกๆ 50 วินาที เริ่มปิงเมื่อ AP
พร้อมทำงานแล้ว 50 วินาที ปิงไม่เจอ IP นั้น 3 รอบสั่ง reboot
ดัดแปลงเป็นให้ AP reboot ตัวเองทุก 24 ชม.โดยให้ ping 10.10.10.10 (IP ที่ไม่มีอยู่จริง) 28800 S (60x60x8) แบบนี้ก็ได้ครับ ไม่ต้องซื้อ Timemer
Startup Delay: : เริ่ม Ping ชุดแรกเมื่อไหร่
Failure Count To Reboot : Ping ไม่เจอกี่รอบถึงจะ Reboot
มีลูกค้าสับสน ชุด IP ที่ ping คือ gateway ของอินเตอร์เนตหรือ IP อุปกรณ์อีกตัวที่ WDS นะครับ
ตัวอย่าง
เซตร่วมกับ Mikrotik ที่ทำเป็น hotspot IP Gateway=10.5.50.1
<<< ต้อง ping ไปหาตัวนี้ไม่ใช่ 192.168.1.1 ไม่งั้นตัว Rocket
จะรีบู๊ตตัวเอง
และ Enable NTP Client ติ๊กถูก ใส่เป็น th.pool.ntp.org
เท่าที่ลองดู ถ้าทำงานในโหมด Bridge ไม่ว่าจะ firmware ตัวใหม่ๆ เวลาก็ยังไม่ตรง
ยกเว้นเมื่อทำงานในโหมด Router ครับ
10.แท็บ ADVANCE
Distance กับ ACK Timeout ค่านี้สัมพันธ์กับระยะทาง ให้ปรับตามระยะส่งที่เราหวังผล
ลอง Auto ก่อน แล้วกดเอา Auto ออก ค่อยๆปรับขึ้นลงทีละ 1 พร้อมกับเทส Throughput ไปด้วยจนได้ Throughput สูงสุด
Sensitivity Threshold, dBm:ติ๊กเครื่องหมายถูกออก
ป้องกันอุปกรณ์ที่คอนเนตได้ระดับอ่อนมาเชื่อมต่อ ไม่งั้นอุปกรณ์ตัวนั้นจะพาระบบเราช้าครับ
ปกติไวเลสจะรับได้นิ่งๆ ระดับสัญญาณควรมากกว่า -80 dBm แต่ผมเผื่อให้เป็น -85 (ยิ่งใกล้ 0 ระดับสัญญาณยิ่งแรงครับ)
ถ้าจะไม่ให้ client ที่อยู่ในวงแลนเจอกัน เพื่อป้องกัน netcut ติ๊กถูกตรง Enable Client Isolation ด้วย
11.แท็บ WIRELESS
SSID:สามารถซ่อน SSID โดยติ๊กถูก Hide SSID
เพื่อให้ client search ไม่เจอ AP
เพราะตัวหลักที่เป็น MIAN ถ้า client เกาะเยอะๆ จะพาระบบล่มได้เช่นกัน
(ปกติไม่ค่อยทำกัน ยกเว้นตัว MAIN ไม่ต้องการให้ Client เกาะ)
Wireless Security ตรง Security
ถ้าจะใช้ฟังค์ชั่น AP+WDS รูปแบบ Security ต้องเป็น WEP เท่านั้นจึงจะใช้งาน WDS ได้
WEP Key Length 64 Bits อย่างต่ำต้องใส่ 10 ตัว ต่างจากพวก WPA ที่ใช้ 8 ตัวได้ (2 คำถามนี้เจอถามบ่อยมากครับ)
WEP Key Length 64 Bits อย่างต่ำต้องใส่ 10 ตัว ต่างจากพวก WPA ที่ใช้ 8 ตัวได้ (2 คำถามนี้เจอถามบ่อยมากครับ)
อันไหนที่ทำไม่ได้จะมีตัวช่วยบอกอยู่ครับ เช่น
Please enter a valid "WPA passphrase (minimum 8 printable ASCII chars, maximum 63)"
MAC ACL:ติ๊กถูก Enabled หมายถึง การเปิดใช้งาน MAC Fillter
Policy เป็น Allow เพื่อยอมรับใช้ MAC ADDRESS เหล่านี้เข้ามาในระบบ
12.แท็บ MAIN ติ๊กข้างล่างตรง Station เพื่อแสดง Client ที่อยู่ในระบบครับ
Rocket WDS เพื่อขยายสัญญาณแบบ Point to MultiPoint
ตัวแรก 192.168.1.2
ที่แท็บ WIRELESS
เปลี่ยน Wireless Mode เป็น Accress Point WDS หรือ AP-Repester ใน Firmware 5.5.2
WDS Peers:ใส่ MAC ADDRESS ของ AP อีกตัว
Wireless Security แจ้งในข้อ 11 ด้านบนแล้วว่าต้องเป็น WEP เท่านั้นครับ
ตัวที่ 2 ตั้งค่าเหมือนกัน แต่ IP เป็น 192.168.1.3
WDS Peers:ใส่ MAC ADDRESS ของ Rocket ตัว MAIN
ดูผ่านตัวที่ 1 ที่ Station
ตัวที่ 2
มีลูกค้าสงสัย AIP-W525H จับ WDS กับ UBNT ได้หรือไม่
ก็จัดไป
MAC ADDRESS ของ AIP-W525H เอาตรง Wireless Configuration
มาแลกกับ Rocket M2_Main
บางทีมันยุ่งยากเกิน ผมเลยเอา Password ออกซะเลย แล้วค่อยไปเปิดฟังค์ชั่น Hotspot ใน Mikrotik เอา
แต่แปลกๆที่ไม่เห็น IP ขึ้น แต่เข้าเนตได้ปกตินะ ซึ่ง UniFi ที่ down เป็น AirOS ก็เจอปัญหานี้เหมือนกัน
Client ที่ไปคอนเนต 525
WRT54GL ก็ได้เหมือนกันนะครับ เคยลองแล้ว
ซิปเซตในกลุ่ม Atheros Broadcom Ralink พวกนี้คาดว่ามันเป็นพันธมิตรกัน
ข้อดีของการตั้ง SSID ต่างคือ ชื่อมันต่าง เราสามารถเลือกคอนเนตตัวไหนก็ได้
แต่ถ้าเป็น ชื่อเดียวกันแล้ว client อยู่ระหว่างกลาง โอกาสเนตหลุดๆหรือ client สลับคอนเนตตัวนั้นบ้าง ตัวนี้บ้างก็เยอะ
ข้อดีของชื่อเดียวกัน คือ มันเลือกคอนเนตตัวที่สัญญาณแรงกว่าให้เอง ไม่ต้องเลือกเปลี่ยน AP เอง
คำถามที่พบบ่อย
เมื่อคอนเนตแล้วไอคอนสัญญาณ Internet เป็นรูปเครื่องหมายตกใจ สาเหตุ ตัว Rocket ไม่เชื่อมต่ออยู่ในวง Network เดียวกันกับ Gateway อาจเพราะ
-อะแด็ปเตอร์ที่ POE มีปัญหาหรือเสียบสายผิด อาการนี้น่าจะตัดออกไป ถ้าใช้คอนฟิกค่าด้านบนได้ปกติ
-สายแลนที่ใช้เสีย ช่องแลนที่ต่อมาจาก swicth หรือเร้าเตอร์พอร์ต LAN ช่องนั้นมีปัญหา
-ตั้ง IP ของ Rocket อยู่คนล่ะ network กับ Gateway
เช่น gateway เป็น 192.168.2.1 หรือ 10.5.5.1 แต่ตั้งค่าตามแบบผม 192.168.1.2
ที่จริงควรจะเป็น 192.168.2.x หรือ 10.5.5.x
-IP Rocket ที่ตั้งไปตรงกับ client หรืออุปกรณ์ในวงแลน เช่น มี AP ตั้งไว้เป็น IP เดียวกัน พลอยตั้งค่าไม่ได้ทั้งสอง
วิธีการเชค ทดสอบ ping ไปหา IP ของ Rocket เช่น ping 192.168.1.2 -t
อันนี้คือมีการตอบรับกลับมาจากอุปกรณ์
ไม่มีการตอบรับกลับมา
หรืออีกตัวช่วยที่เป็น freeware Advanced IP Scanner หาโหลดได้ในเวปเลยครับ เป็น Freeware
ข้อแตกต่างของโหมดต่างๆ ใน UBNT
Access Point=AP กระจายสัญญาณ wireless อย่างเดียว
Access Point WDS = คล้ายๆ Repeater (สัญญาณจาก Wireless LAN --> ทวนสัญญาณออกทาง Wireless LAN+สาย LAN ด้วย)
Station = Client (สัญญาณจาก Wireless LAN --> ออกทางสาย LAN)
Station WDS = Client+WDS (สัญญาณจาก Wireless --> ออกทางสาย LAN)
ไม่ต่างกับ Station แต่ใช้ประโยชน์ในการเกาะ WDS เอ๊ะ ยังไง
จะเห็นว่าใน firmware 5.5 ขึ้นไป Station WDS หาย เหลือแค่ Station /Access Point และ AP-Repeater (ซึ่งก็คือ AP WDS นั่นเอง)
Access Point=AP กระจายสัญญาณ wireless อย่างเดียว
Access Point WDS = คล้ายๆ Repeater (สัญญาณจาก Wireless LAN --> ทวนสัญญาณออกทาง Wireless LAN+สาย LAN ด้วย)
Station = Client (สัญญาณจาก Wireless LAN --> ออกทางสาย LAN)
Station WDS = Client+WDS (สัญญาณจาก Wireless --> ออกทางสาย LAN)
ไม่ต่างกับ Station แต่ใช้ประโยชน์ในการเกาะ WDS เอ๊ะ ยังไง
จะเห็นว่าใน firmware 5.5 ขึ้นไป Station WDS หาย เหลือแค่ Station /Access Point และ AP-Repeater (ซึ่งก็คือ AP WDS นั่นเอง)
Genuine Product
มีบางท่านสังสัย ทำไมบางตัวมี บางตัวไม่มี
อุปกรณ์ของ UBNT ทุกตัวที่ผลิตในปิ 2012 เมื่ออัพ firmware ตัวล่าสุดหรือ 5.5.2 ขึ้นไป
จะมี logo Genuine Product ขึ้นมาครับ แบบนี้ครับ โดยจะติดตามไปทุกหน้าเลย
สำหรับท่านที่ซื้อของผ่านร้านอื่น
หรือร้านค้าที่ไม่ได้เป็นตัวแทนจำหน่ายจาก UBiQUiTi ถ้าลองอัพ firmware v
5.5.2 แล้วไม่ขึ้น ตามรูปแบบด้านบน
มั่นใจได้เลยว่า เป็นของปลอมแน่นอน ถ้าสินค้าตัวนั้นระบุว่า ผลิตในปี 2012
ตอนนี้ข่าวเท่าที่ได้ทราบมา ของจีน copy ได้เหมือนมาก แต่ Genuine Product ยังใส่เข้าไปไม่ได้
ใช้เสา Gain ขยายไม่เท่ากัน อีก 5+9 หรือ 9+15
โดยคิดว่าจะให้ต้นสั้นเก็บระยะใกล้ ต้นยาวเก็บระยะไกล
ผลคือ ทำให้สัญญาณแกว่ง ไม่นิ่ง แนะนำใช้ให้เท่ากันดีกว่าครับ ผลเสีย คืออาจทำให้ภาครับส่ง AP พังไวกว่าปกติ
และเสาใช้ให้ถูกประเภท เอา indoor ไปใช้ outdoor แป๊บเดียว แดด ฝนทำเสากรอบ เหลือแต่ใส้นะครับ
สำหรับวันนี้ขอจบบทความการเซตค่า UBiQUiTi Rocket M Series เป็น Access Point หรือ AP ไว้เพียงเท่านี้
wifi4you
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น