วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

อยากประหยัดพลังงานให้เห็นผล จะเริ่มต้นยังไงดี?


Energy Saving
By Noppadon B.


ทำไมต้องประหยัดพลังงาน?

ข้อมูลเบื้องต้น ทบทวนกันนิดนึง
ค่าวัตต์ หรือ watt(w) หรือกำลังวัตต์ ที่บอกมากับอุปกรณ์ไฟฟ้า ส่วนมากนั้น คือ ค่าการกินไฟ ไม่ใช่กำลังวัตต์ที่ได้
1 วัตต์ = ค่าพลังงาน 1 จูล * 1 วินาที = 1 โวลต์ * 1 แอมแปร์ (ในระบบไฟฟ้า)
ต่างกันยังไง? การกินไฟหรือจำนวนพลังงานที่จ่ายให้อุปกรณ์นั้นๆ ส่วนกำลังที่ได้ออกมาขึ้นอยู่กับว่าอุปกรณ์นั้นเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทไหน ถ้าเป็นประเภทให้แสงสว่างกำลังที่ได้จะเป็นค่าแสงสว่างวัดออกมาหน่วยเป็นลูเมนส์ (lumens) ไม่ใช่วัตต์ การแจ้งข้อมูลสินค้า อุปกรณ์บางชนิดจะบอกเป็นกำลังวัตต์หรือกำลังม้าที่ให้ออกมาด้วย เช่น มอเตอร์ เป็นต้น
ทีนี้ พอจะมองออกแล้วใช่ไหมว่าวัตต์เกี่ยวข้องกับคุณยังไง วัตต์คือตัวดึงเงินออกกระเป๋าเงินของคุณ ยิ่งคุณมีวัตต์มาก เงินก็จะออกจากกระเป๋าคุณมาก คุณมีวัตต์ลดลงเงินก็จะออกจากกระเป๋าลดลง ในกระเป๋าคุณจะมีเงินเหลือมากขึ้นนั่นเอง!!


watt and money


ใครควรต้องประหยัดพลังงาน?

คุณ!
you
ใช่ คุณนั่นแหละ เรื่องประหยัดพลังงานเป็นเรื่องของเราทุกคน ไม่ว่าจะเป็นนายจ้าง เจ้าของกิจการ ผู้บริหาร ผู้จัดการ วิศวกร ไปจนกระทั่งพนักงานทุกๆคน ไม่เว้นแม้แต่แม่บ้านและลุงคนสวน ทุกคนต้องมีจิตสำนึกในการประหยัดพลังงาน แต่ถ้าจะให้ทำได้และเห็นผลเร็วที่สุด แน่นอนว่าต้องเริ่มต้นจากผู้มีอำนาจก่อน

เริ่มต้นจากอัพเกรดหลอดไฟ

upgrade
เราควรเริ่มต้นจากการอัพเกรดหรือเพิ่มประสิทธิภาพหลอดไฟก่อน ทำไมต้องหลอดไฟ? เพราะเป็นการลงทุนที่ไม่มาก ทำได้ทันที เห็นผลเร็ว คืนทุนเร็ว ง่ายต่อการเข้าใจของผู้บริหารและเจ้าของกิจการ
ทำไมไม่เริ่มจากอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างอื่นเช่น มอเตอร์ หรือ อุปกรณ์ทำความร้อน/อุปกรณ์ทำความเย็น

ถึงแม้ว่าการปรับปรุงหรือเพิ่มประสิทธิภาพมอเตอร์ มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญในการลดบิลค่าไฟไฟ้าก็จริง แต่การศึกษาและเก็บข้อมูลมีความยุ่งยากและใช้เวลานานกว่า บางครั้งอาจต้องวางแผนและต้องเก็บข้อมูลกันเป็นปีเลยทีเดียว แต่อย่าลืมว่าโครงการอนุรักษ์พลังงานของคุณอาจมีเวลาให้แค่ 6 เดือนเท่านั้น และอีกอย่างการประเมิณผลงานเขาคิดกันปีต่อปี จริงมั๊ย!
light bulb upgrade
แล้วระบบทำความร้อนทำความเย็นการระบายอากาศและระบบปรับอากาศ? (Heating, Ventilation and Air Conditioning หรือเรียกที่รวมแบบย่อๆ ว่า HVAC) ในส่วนของ HVAC นั้นก็มีผลกระทบต่อการใช้พลังงานหรือบิลค่าไฟของคุณมากเช่นกัน แต่ก็ควรจะทำเป็นลำดับถัดมาเพราะว่าบางอย่างเช่นโหลดของเครื่องปรับอากาศและระบบระบายอากาศ อาจจะมีความร้อนส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากหลอดไฟที่ให้แสงสว่าง แต่ถ้าเราปรับปรุงหลอดไฟไปก่อน ผลที่ได้อีกอย่างที่ตามมาคือความร้อนในอาคารลดลงไปอีก ดังนั้นเราจึงควรต้องเริ่มจากหลอดไฟก่อนถึงไปต่อที่ระบบ HVAC

นอกจากนั้นการคำนวณค่าไฟจากหลอดไฟก็คำนวณได้ง่าย ติดตั้งได้ง่าย ผลกระทบต่อค่าไฟต่อปีก็มากเหมือนกัน เมื่อปรับปรุงหลอดไฟแสงสว่างเสร็จ เรายังได้ข้อมูลการใช้ไฟของเครื่องปรับอากาศได้เพิ่มมาอีก สามารถนำข้อมูลมาวางแผนเป็นปรับปรุงในลำดับถัดไป

ทำไมต้องเป็นหลอดไฟLED?

เมื่อเราเริ่มต้นด้วยการอัพเกรดหลอดไฟแล้ว แน่นอนที่สุดว่าเราต้องเลือกอัพเกรดให้เป็นหลอดLED ทำไมเราต้องเปลี่ยนมาเป็น หลอดLED? เป็นเพราะว่าด้วยคุณสมบัติในด้านต่างๆ ทั้งเรื่องประสิทธิภาพความสว่าง ด้านอายุการใช้งานที่นาน ด้านความปลอดภัยเป็นมิตรกับคนและสิ่งแวดล้อม หรือจะเป็นความร้อนที่ลดลงไปมาก และด้านอื่นๆ ดังนั้นเมื่อจะอัพเกรดเพิ่มประสิทธิภาพแล้ว ต้องเริ่มจากทางที่ง่ายและเห็นผลเร็วที่สุด
อยากรู้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า หลอดLEDคืออะไร อ่านที่นี่
และหลอดLED มีข้อดียังไง? อ่านที่นี่

ผู้ช่วยในการทำเรื่องประหยัดพลังงาน

นอกจากลูกน้องคนสนิทของคุณแล้ว ผู้ช่วยสำคัญสำหรับเรื่องประหยัดพลังงานก็คือ วัตต์มิเตอร์ (Watt Meter) กับกระดาษจดรายงาน วัตต์มิเตอร์คือเครื่องวัดค่าการใช้กินไฟของอุปกรณ์นั้นๆ มีทั้งแบบติดตั้งถาวรและแบบพกพา เมื่อมีวัตต์มิเตอร์(และใช้มันอย่างถูกวิธี) คุณก็จะรู้แล้วว่าอุปกรณ์นี้ทำให้คุณต้องจ่ายค่าไฟเดือนละเท่าไหร่ ปีละกี่หมื่นหรือกี่แสนบาท และเมื่อคุณอัพเกรดปรับปรุงอุปกรณ์เสร็จแล้ว เจ้าผู้ช่วยวัตต์มิเตอร์ก็จะทำให้คุณหรือเจ้าของกิจการของคุณยิ้มออกได้ ว่าค่าไฟลดลงเพราะอุปกรณ์ที่คุณเพิ่งเปลี่ยนไปเท่าไหร่ กี่หมื่นกี่แสนหรือกี่ล้านบาทต่อปี เจ้าของเงินยิ้มได้ คุณก็ยิ้มออก...


ตัวอย่าง เพียงเปลี่ยนโคมไฟ 1 โคม

มาลองคำนวณดูว่าเมื่อคุณเปลี่ยนโคมไฟแสงสว่างฟลัดไลท์ส่องสนาม ชนิดหลอดไส้ทังสเตนฮาโลเจน ขนาด 250w สักโคม มาเป็น โคมไฟLED สำหรับส่องสนามLED หรือฟลัดไลท์LED ขนาด 100w แล้วคุณได้อะไร?

วัตต์ที่ลดลง 250w -100w =150w
หน่วยค่าไฟที่ลดลงต่อชั่งโมง = 150w x 1H /1000 = 0.15 หน่วย(Kw-H)
ค่าไฟที่ลดลงต่อวัน (เปิดทั้งคืน และคิดค่าไฟประมาณหน่วยละ 4 บาท) = 0.15 x 12H x 4 = 7.20 บาท
ทำให้คุณประหยัดเงินค่าไฟต่อปี = 7.20 x 365 = 2,628 บาท

2,628 บาทต่อปีเหมือนไม่มากใช่ไหม แต่คุณรู้รึเปล่าว่ามันเท่ากับดอกเบี้ยต่อ 1 ปี ของเงินฝากออมทรัพย์จำนวน 525,600 บาทเลยทีเดียว! หากคุณกำลังคิดว่าจะฝากเงินที่ธนาคารอะไรให้ดอกเบี้ยดีที่สุด แต่มาลองเปลี่ยนวิธีคิด มาทำวิธีง่ายๆ เพียงเปลี่ยนหลอดไฟเพียงหนึ่งหลอด ผลลัพท์ที่ได้ค่าไม่ต่างกัน
เมื่อผ่านไป 10 ปี =2,628 x 10 = 26,628 บาท แล้วเมื่อผ่านไป 20 ปี = 2,628 x 20 = 52,560 บาท เลยทีเดียว!!! น่าสนใจใช่ไหมล่ะ


ผลดีที่ตามมา

นอกจากเรื่องเงินที่ประหยัดได้โดยตรงจากค่าไฟแล้ว ยังมีผลดีที่ตามมาอีกหลายอย่าง
  • ลดค่าซ่อมบำรุง
  • ลดค่าแอร์เพราะความร้อนในห้องลดลง
  • ได้รับส่วนลดค่าไฟ จากมาตรการแรงจูงใจของการไฟฟ้า
  • การผลิตที่มีคุณภาพขึ้นจากแสงสว่างที่คุณภาพดีขึ้น
  • เจ้าของกิจการยิ้มได้ พนักงานก็มีความสุข

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น