ซึ่งหากมองกันที่อุปกรณ์ตามรายชิ้น นอกจากเพาเวอร์ซัพพลายแล้ว
ฮาร์ดดิสก์ก็ถือเป็นอุปกรณ์อีกหนึ่งชิ้นที่มีโอกาสเสียหายมากที่สุด
ดังนั้นหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน อย่างคอมพิวเตอร์จมน้ำไปแล้ว
ส่วนอื่นอาจจะนำมาซ่อมแซมกันทีหลังได้ แต่ฮาร์ดดิสก์มีกลไกที่ซับซ้อน
รวมถึงมีข้อมูลที่สำคัญ จึงต้องใช้ความระมัดระวังและความรวดเร็วมากที่สุด
ขั้น
แรกไม่ควรปล่อยให้รอน้ำลดแล้วจึงเข้าไปเก็บกู้ฮาร์ดดิสก์
หากในนั้นมีข้อมูลสำคัญมาก ไม่สามารถประเมินมูลค่าได้
สิ่งที่ควรจะต้องทำก็คือ
รีบเข้าไปเอาฮาร์ดดิสก์ที่ถูกน้ำจมอยู่ออกมาให้ได้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
ซึ่งถ้าจมไปไม่นาน ระบบป้องกันอาจจะกันน้ำได้ในระดับหนึ่ง
ทำให้เสียหายไม่มาก แต่ถ้ายิ่งปล่อยให้จมอยู่นาน
โอกาสเสียหายก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ขั้น
ที่สอง หากยังไม่สามารถลุยน้ำเข้าไปเอาฮาร์ดดิสก์มาได้โดยด่วน
ด้วยเหตุผลเรื่องการเดินทาง อันตรายจากกระแสไฟฟ้าหรืออื่นๆ
ก็ต้องรอน้ำลดเสียก่อน แต่ต้องทำใจว่า เมื่อถึงเวลานั้นน้ำลดระดับ
ก็จะทำให้คราบน้ำหรือเชื้อรา ซึ่งเป็นอันตรายต่อตัวฮาร์ดดิสก์
โอกาสที่จะได้ข้อมูลคืนก็พอมีแต่ก็ลดเปอร์เซนต์ลงไปเรื่อยๆ
ดังนั้นไม่ต้องรอให้แห้ง รีบนำออกจากเครื่อง แล้วเตรียมส่งซ่อมทันที
ขั้น
ที่สาม หลังจากที่เราได้ตัวฮาร์ดดิสก์ พร้อมการแก้ไขเบื้องต้น
ก็ต้องรีบส่งบริษัทรับกู้ข้อมูลที่มีความพร้อมด้านอุปกรณ์ในการกู้
ฮาร์ดดิสก์ เลือกที่มีห้อง Clean Room
กันฝุ่นละอองเพื่อแกะตัวฮาร์ดดิสก์หรือจานแม่เหล็กภายในออกมาล้างทำความ
สะอาดและกู้ข้อมูล
ซึ่งในเมืองไทยมีอยู่เพียงแค่ไม่กี่รายเท่านั้นที่สามารถทำการกู้ข้อมูลได้
ถึงระดับนี้ ค่าใช้จ่ายก็ขึ้นอยู่กับความจุของฮาร์ดดิสก์ที่นำมากู้
แต่ก็เชื่อว่าหากเป็นข้อมูลที่สำคัญมากๆ ทำใหม่ไม่ได้
การจ่ายเงินก็ดูจะคุ้มค่าที่สุดแล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น